ความชุกของการได้ยินและการมองเห็นที่ผิดปกติของเด็กนักเรียนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เปรียบเทียบตามเพศ และกลุ่มอายุ: การศึกษาภาคตัดขวาง

Authors

  • กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์

Keywords:

การได้ยินผิดปกติ, การมองเห็นต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ

Abstract

ปัญหาการได้ยินผิดปกติและการมองเห็นที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเป็นปัญหาสำคัญของเด็กนักเรียนซึ่งอาจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การตรวจคัดกรองนับเป็นการเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นจนสายเกินแก้ไข การศึกษานี้จึงทำเพื่อสำรวจความชุกและเปรียบเทียบระหว่างเพศกับกลุ่มอายุว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ การศึกษาเป็นแบบ cross sectional โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนอายุตั้งแต่ 6 ปีถึง 18 ปี จำนวน 6,821 คน ตรวจ visual acuity ด้วย Snellen’s chart และตรวจการได้ยินด้วย portable audiometer พร้อมทั้งตรวจช่องหูด้วย otoscope โดยกุมารแพทย์ ผลการศึกษาพบว่าความชุกในการได้ยินผิดปกติพบร้อยละ 11 และการมองเห็นต่ำกว่าเกณฑ์ปกติพบร้อยละ 10.4 Odd ratio ของการได้ยินผิดปกติในเด็กหญิงเมื่อเทียบกับเด็กชายเท่ากับ 1.82 95% CI(1.51-2.19) และการมองเห็นต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กหญิงเมื่อเทียบกับเด็กชายเท่ากับ 4.49 95% CI(3.47-5.81) ส่วนกลุ่มอายุน้อยจะมีการได้ยินผิดปกติมากกว่ากลุ่มอายุมากเป็นลำดับไป ส่วนการมองเห็นนั้นมีเพียงกลุ่มอายุ 9-12 ปีที่มีความชุกน้อยกว่ากลุ่มอายุ 6-9 ปี อย่างมีนัยสำคัญ สรุปแล้วความชุกในการได้ยินผิดปกติของเด็กนักเรียนหญิงในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก พบมากกว่าเด็กนักเรียนชายประมาณ 0.8 เท่าและการมองเห็นต่ำกว่าเกณฑ์ปกติพบมากกว่านักเรียนชายประมาณ 3.5 เท่า เด็กนักเรียนอายุน้อยพบการได้ยินผิดปกติมากกว่ากลุ่มอายุมากตามลำดับ ส่วนการมองเห็นต่ำกว่าเกณฑ์จะพบมากในกลุ่มอายุ 9-12 ปี

Downloads

How to Cite

1.
คงสมบูรณ์ ก. ความชุกของการได้ยินและการมองเห็นที่ผิดปกติของเด็กนักเรียนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เปรียบเทียบตามเพศ และกลุ่มอายุ: การศึกษาภาคตัดขวาง. J Med Health Sci [Internet]. 2008 Dec. 11 [cited 2024 Mar. 29];14(1). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61309