The Comparative studies of Treatment Outcomes of Diabetes Thai patients in HRH Princess Mahachakri Sirindhorn Medical Center Using The ADA 2008 guideline.

Authors

  • Chaturon Tangsangwornthamma Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University
  • Somsak Wasuwithitgul Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University
  • Suthee Rattanamongkolgul Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University

Keywords:

เบาหวานชนิดที่ 2, หน่วยบริการปฐมภูมิ, เกณฑ์มาตรฐานสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา, Diabetes mellitus type II, Primary care unit, American Diabetes Association (ADA) guideline

Abstract

The study aims to compare treatment outcomes and complication surveillance among diabetes mellitus type II patients in the service area of HRH Princess Mahachakri Srindhon Medical Center (MSMC) with the American Diabetes Associate guideline 2008 (ADA 2008) and comparing the difference in treatment outcomes between the primary care unit (PCU) and the tertiary care unit (TCU). Data were collected by questionnaires from all type 2 diabetes patients and their medical records during 2009 – 2010 in a cross-sectional study. There were 274 type 2 diabetes patients in this study, 131 cases in PCU and 143 cases in TCU. Glycemic controls in these patients were monitored by using HbA1c at 72.5% and 74.1% in PCU and TCU, respectively. Microalbuminuria was screened in all of patients when comparing treatment service between PCU and TCU, the patients in PCU were less accomplished and less monitored than TCU patients; however, the differences were not statistically significant according to the ADA 2008 except in eye and foot examinations. In conclusion, the majority of type II diabetes patients were monitored according to the ADA 2008. The patients in TCU successfully achieved glycemic and metabolic control better than the patients in PCU without statistical significance. In consequence, physicians should be concerned about complications among type II DM patients according to the  standard guidelines, especially, in PCU. Nevertheless, physicians also should be concerned about the quality of care index using the holistic approach.

 

การศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามเกณฑ์มาตรฐานสมาคมเบาหวาน แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2008 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษาและการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่สองในเขตพื้นที่บริการของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยเทียบกับเกณฑ์ของ สมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ADA) ค.ศ. 2008 รวมถึงเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานระหว่าง หน่วยบริการปฐมภูมิกับหน่วยบริการตติยภูมิโดยศึกษาการวิจัยแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามและบันทึก เวชระเบียนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทุกราย ที่เข้ามารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิและศูนย์การแพทย์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ ในระหว่าง พ.ศ. 2552-2553 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาอัตราการดูแลผู้ป่วยตามเกณฑ์ข้างต้น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 274 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ131 ราย และหน่วย บริการตติยภูมิ143 ราย มีผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าระวังด้วย HbA1c ที่หน่วยบริการปฐมภูมิร้อยละ 72.5 และในหน่วยบริการ ตติยภูมิร้อยละ 74.1 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพบอีกว่าผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการ เฝ้าระวังระดับไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ และเมื่อเทียบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิ และตติยภูมิพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าระวังค่าเฉลี่ยของเกณฑ์ มาตรฐาน และร้อยละของผู้ป่วยที่เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่หน่วยบริการตติยภูมิแต่ไม่พบความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้น การเฝ้าระวังด้านตาและเท้า โดยสรุปผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่ได้รับ การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนตามเกณฑ์มาตรฐาน ADA ค.ศ. 2008 และผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ามารับบริการที่หน่วยบริการ ตติยภูมิจะได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และรักษาจนเข้าสู่เป้าหมายได้มากกว่าผู้ป่วยที่รับบริการในหน่วยบริการ ปฐมภูมิแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้นแพทย์ควรตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรค เบาหวานชนิดที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะในหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างไรก็ตามแพทย์ผู้ดูแลก็ควรที่จะคำนึงถึงตัวชี้ วัดเชิงคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมร่วมด้วย

Downloads

Published

2013-10-05

How to Cite

1.
Tangsangwornthamma C, Wasuwithitgul S, Rattanamongkolgul S. The Comparative studies of Treatment Outcomes of Diabetes Thai patients in HRH Princess Mahachakri Sirindhorn Medical Center Using The ADA 2008 guideline. J Med Health Sci [Internet]. 2013 Oct. 5 [cited 2024 Nov. 13];20(1):29-40. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/58743

Issue

Section

Original article (บทความวิจัย)