Comparison of latch scores between tube and cup feeding methods

Authors

  • Sukwadee Ketsuwan Department of Obstetrics & Gynecology, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University
  • Nongyao Baiya Department of Obstetrics & Gynecology, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University
  • Ketsuda Maelhacharoenporn Department of Obstetrics & Gynecology, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University
  • Kasem Raungrongmorakot Obstetrics & Gynecology Nursing Department, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center

Keywords:

อุปกรณ์เสริม, การป้อนแก้ว, การเข้าเต้า, tube feeding, cup feeding, latch score

Abstract

This experimental research compares latch scores of tube feeding and cup feeding methods in post partum at HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Nakhon Nayok province. The samples consisted of 40 couples of mothers and her babies. They were randomly assigned to the control and experimental groups. Twenty mothers and her babies of the control group used cup feeding method (regular program). The other 20 pairs of the experimental group used the tube feeding method. The samples of both groups were assessed by latch scores before and after feeding. Data were analyzed for frequency, mean, standard deviation, and were compared by Wilcoxon matched pairs signed-ranks test, and Mann-Whitney U test. The results revealed that mean ±SD of latch scores before tube feeding was 5.30±1.17 and after tube feeding the value increased significantly to 7.45±1.05 (p < 0.01). The mean of latch scores before cup feeding was 4.95±1.05 and after tube feeding the value increased significantly to 7.30±1.49 (p < 0.01). The difference of latch scores after tube feeding and cup feeding, however, were not statistically significant (p = 0.898). The feeding tube might therefore be an alternative method for babies who could not latch on their mother’s breast.

 

เปรียบเทียบคะแนนการป้อนนมโดยอุปกรณ์เสริม กับการป้อนแก้วในการเข้าเต้า

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการป้อนนมโดยอุปกรณ์เสริมกับการป้อนแก้ว ในการเข้าเต้าในมารดาหลังคลอด ที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ จังหวัดนครนายก จำนวน 40 คน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับ การช่วยเหลือการป้อนนมด้วยอุปกรณ์เสริม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการช่วยเหลือการป้อนนมแบบป้อนแก้ว และวัดด้วยแบบ ประเมินการเข้าเต้า สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยสถิติWilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks และเปรียบเทียบคะแนนการเข้าเต้าระหว่างการใช้อุปกรณ์เสริมกับการป้อนแก้วด้วยสถิติMann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการเข้าเต้าของมารดาหลังคลอดในกลุ่มก่อนได้รับอุปกรณ์เสริมเท่ากับ 5.30 ค่าเบี่ยง เบนมาตรฐาน 1.17 และหลังได้รับอุปกรณ์เสริมเท่ากับ 7.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.05 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) และคะแนนเฉลี่ยการเข้าเต้าของมารดาหลังคลอดในกลุ่มก่อนได้รับการป้อนแก้วเท่ากับ 4.95 ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 1.05 และหลังได้รับการป้อนแก้วเท่ากับ 7.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.49 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.01) เมื่อนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบผลต่างคะแนนการเข้าเต้าของการใช้อุปกรณ์เสริมและการป้อนแก้ว ด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test พบว่าไม่แตกต่างกัน p = 0.898 ดังนั้น อุปกรณ์เสริมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในกรณีที่ทารกยังดูดนม จากเต้าไม่ได้เช่นเดียวกับการป้อนแก้ว และทำให้ทารกมีความพร้อมในการเข้าเต้าได้ดีขึ้น

Downloads

How to Cite

1.
Ketsuwan S, Baiya N, Maelhacharoenporn K, Raungrongmorakot K. Comparison of latch scores between tube and cup feeding methods. J Med Health Sci [Internet]. 2014 Oct. 1 [cited 2024 Apr. 26];21(2):58-67. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/58667