Oral health care promotion program in pregnant women by application of the health belief model and the encouragement from their husbands to prevent gingivitis

Authors

  • Siriluk Wongsanao Management of Health Promotion, Faculty of Public Health, Thammasat University
  • Kaysorn Sumpowthong Management of Health Promotion, Faculty of Public Health, Thammasat University

Keywords:

โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก, หญิงตั้งครรภ์, โรคเหงือกอักเสบ, พฤติกรรมในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ, a program for the promotion of oral health, pregnant women, gingivitis, behavioral modification for the prevention of gingivitis

Abstract

This research is a quasi – experimental study which aimed to explore the effects of oral health care promotion program in pregnant women by employing  the health belief model and the encouragement  from their husbands on behavioral modification for the prevention of gingivitis. The sample comprised of 64 pregnant women at gestational age 8 to 18 weeks recruited at the ante natal care center, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn medical center in Nakhon Nayok Province. Subjects were divided into experimental (n=32) and control (n=32) groups. The experimental group participated in an oral health promotion program including. This consisted of activities such as lecturing  with slides, videos and a brochure, group discussions and demonstrations of hygiene practice. In addition, the participants received support from their husbands based on our guide book and the results were monitored by telephone visits. The duration of implementation was 8 weeks. Data were collected by questionnaires. Descriptive statistics, such as percentage, frequency, mean and standard deviation, were analyzed. Comparative analysis was performed using the paired sample t-test and independent sample t-test. The significant level was set at 0.05. The results showed that the experimental group had mean scores of knowledge of gingivitis, perceived susceptibility, perceived benefits, practices for gingivitis prevention and their husbands encouragement significantly higher than those before the program  and also higher than those in the control group (p-value < 0.05). Mean scores of perceived severity were significantly higher after following the program and were also higher than that of the control group (p-value < 0.001). Perception of barriers to gingivitis prevention were significantly lower after following the program and were also lower than that of the control group(p-value < 0.001). Therefore, it is suggested that the program should be utilized widely in health care settings. It is also suggested that the participation and supporting of their husbands may increase the effectiveness and compliance of the program.

 

โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการ ประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคมจากสามีต่อพฤติกรรมการ ป้องกันโรคเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก โดยการ ประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมจากสามีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ป้องกันโรคเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ ทำการศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ณ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ จ.นครนายก อายุครรภ์อยู่ในช่วง 8 ถึง 18 สัปดาห์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 64 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริม สุขภาพช่องปากที่ผู้วิจัยกำหนด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติซึ่งโปรแกรมประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยาย ประกอบสื่อ การชมวีดิทัศน์การแจกแผ่นพับ การฝึกปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสรุปอภิปรายผล และโปรแกรม ได้กระตุ้นให้สามีเป็นผู้ให้แรงสนับสนุนต่อหญิงตั้งครรภ์ โดยมีกิจกรรมการแจกเอกสารคู่มือและการติดตามเยี่ยมทาง โทรศัพท์ใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 8 สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจกแจงความถี่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ด้วยสถิติPaired sample t-test และสถิติIndependent sample t-test โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นในการทดสอบทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.05 พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคเหงือกอักเสบ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดโรคเหงือกอักเสบ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค เหงือกอักเสบ และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ภายหลังการทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) นอกจากนี้ยังพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีการรับรู้ต่ออุปสรรคในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จึงควรสร้างการมีส่วนร่วมจากสามีและการจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อติดตาม พฤติกรรมทางด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในระยะยาวต่อไป

Downloads

Published

2015-11-23

How to Cite

1.
Wongsanao S, Sumpowthong K. Oral health care promotion program in pregnant women by application of the health belief model and the encouragement from their husbands to prevent gingivitis. J Med Health Sci [Internet]. 2015 Nov. 23 [cited 2024 Dec. 19];22(3):34-40. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/58612

Issue

Section

Original article (บทความวิจัย)