Stress level and simple reaction time changes in the injured workers of the industrial rehabilitation center, social security office, Ministry of labor, Thailand

Authors

  • Amornpan Ajjimaporn College of Sports Science and Technology, Mahidol University
  • Waree Widjaja College of Sports Science and Technology, Mahidol University
  • Thyon Chentanez College of Sports Science and Technology, Mahidol University

Keywords:

การบาดเจ็บจากการทำงาน, ความเครียด, เวลาปฏิกิริยาในการตอบสนอง, Injured worker, Work related injury, Stress, Stress questionnaire, Industrial rehabilitation

Abstract

This study was to assess the stress level and reaction time changes in the injured workers of the industrial rehabilitation center (IRC), social security officer, ministry of labor. Sixty workers (18 to 60 years) of age were participated in this study. They were divided into two groups: normal worker group (n=30) and injured worker group (n=30) Reaction time (visual, auditory and touch) and stress level (Suanprung Stress Test-60 (SPST – 60) were evaluated at the time of recruitment. Injured workers showed significantly decreased in the values of reaction time. Mean stress scores in SPST – 60 was significantly increased in this group compared to the normal group (p<0.05). Stress level changes in work-related injured group indicate mental deconditioning after injury. Therefore, promoting effective performance and psychological well-being and self-efficacy in industrial rehabilitation program in injured workers would be help to reduce stress levels and prevent re-injury in this population.

 

การเปลี่ยนแปลงระดับความเครียดและเวลาปฏิกิริยา ในการตอบสนอง ในผู้บาดเจ็บจากการทำงาน ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

การเปลี่ยนแปลงระดับความเครียดและเวลาปฏิกิริยาในการตอบสนอง อันเป็นผลเนื่องจากการบาดเจ็บจาก การทำงานในคนงานที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน อายุระหว่าง 18-60 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มคนงานปกติทั่วไปที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ และกลุ่มทดลอง คือ ลูกจ้างที่ได้รับ บาดเจ็บจากการทำงาน และเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน สำนักงานประกันสังคม จ.ปทุมธานี โดยวันแรกรับเข้าฟื้นฟูสมรรถภาพฯ ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนจะได้รับการประเมินด้วย แบบสอบถาม ความเครียดสวนปรุง (SPST-60) และ ทดสอบการตอบสนองของระบบประสาทสั่งการ (reaction time) ผลการศึกษา พบว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน มีเวลาการตอบสนองของนิ้วมือทั้งสองข้างต่อสิ่งกระตุ้นสัมผัส แสง และ เสียง เร็วกว่ากลุ่มควบคุมที่เป็นคนงานปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการประเมินความเครียดของผู้บาดเจ็บจาก การทำงาน พบว่าคะแนนความเครียดจากแบบสอบถาม SPST-60 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สาเหตุที่ ทำให้เครียด คือ ปัญหาทางเศรษฐกิจ/การเงิน ปัญหาครอบครัว และเรื่องงาน อาการของความเครียดในด้านต่างๆ พบว่า กลุ่มผู้บาดเจ็บจากการทำงาน มีอาการเครียดทางประสาทอัตโนมัติทางด้านต่อมไร้ท่อ ทางด้านภูมิคุ้มกัน และมีคะแนน เฉลี่ยรวมอาการของความเครียดในด้านต่างๆ สูงกว่าคนงานปกติ ในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานจะมีระดับ ความเครียดที่เกิดขึ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป ดังนั้น เพื่อให้ผลการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการ วางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ควรเพิ่มการฟื้นฟูด้านอารมณ์ และจิตใจควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเครียดของผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อช่วยลดระยะเวลาของการฟื้นฟูฯ และป้องกันการเกิดการบาดเจ็บจากการทำงานซ้ำ

Downloads

Published

2015-11-23

How to Cite

1.
Ajjimaporn A, Widjaja W, Chentanez T. Stress level and simple reaction time changes in the injured workers of the industrial rehabilitation center, social security office, Ministry of labor, Thailand. J Med Health Sci [Internet]. 2015 Nov. 23 [cited 2024 Dec. 19];22(3):15-24. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/58610

Issue

Section

Original article (บทความวิจัย)