Memory and related factors in alcohol dependent patients
Keywords:
ผู้ป่วยติดสุรา, ความจำระยะสั้น, ความจำระยะยาว, ความจำโดยรวม, alcohol dependent patient, immediate memory, delayed memory, total memoryAbstract
This objective of this research is to study memory and related factors in alcohol dependent patients by using composite scores, immediate memory, delayed memory and total memory. The subject of this research are 62 alcohol dependent patients undergoing rehabilitation at Thanyarak Institute, Department of medical services, Ministry of Health, Pathumthani, Thailand. The researcher interviewed personal information with individual interview, screen for the depression sign by 2 Question (2Q) and assess memory by The Wechsler Memory Scale Third-Edition Abbreviated (WMS-III Abbreviated). The results revealed that average composite scores including, immediate memory and delayed memory and total memory were found to be in the borderline range. The study of individual factors with primary level education related to memory found in alcohol dependent patients had a significant difference in mean memory scores in all aspects from the other studies (p<0.05). For the age group factor, it was found those 18 - 35 years old had significant difference in mean memory scores than those 36 - 55 years old, in terms of delayed visual memory. For the nutritional factor, calculated by body mass index (BMI), it was found that those with underweight and normal weight had significant difference in mean memory scores than those who were overweight in terms of immediate visual memory (p<0.05). Nevertheless, factors associated with binge drinking, age of first exposure, duration, quantity, frequency and family history of alcohol dependence were not significant. This research showed that levels of education are related with all modalities and memory composite while ages related to the delayed visual memory and the nutrition status related to the immediate visual memory. The other factors show no correlation between each other. There should be investigated for further study in memory including other cognitive abilities.
การศึกษาความจำและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความจำในผู้ป่วยติดสุรา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจำและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความจำในผู้ป่วยติดสุรา ตามองค์ประกอบ ความจำแบบระยะสั้น ระยะยาว และความจำโดยรวม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดสุรา จำนวน 62 ราย ที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ณ สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี ดำเนินวิธีวิจัยโดยสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล ประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมิน 2 คำถาม (2Q) และใช้แบบทดสอบ The Wechsler Memory Scale Third-Edition Abbreviated ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของความจำ ทั้งความจำระยะสั้น ความจำระยะยาว และความจำโดยรวม อยู่ในระดับคาบเส้น ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าในด้านการศึกษา ผู้ป่วยติดสุราที่มีการศึกษาระดับประถม ศึกษา มีคะแนนความจำเฉลี่ยแตกต่างจากระดับการศึกษาอื่นๆ ในด้านอายุพบว่า ความจำระยะยาวเกี่ยวกับการมองเห็นของ ผู้ป่วยติดสุรากลุ่มอายุ 18 - 35 ปี มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างจากกลุ่มอายุ 36 - 55 ปี และในด้านภาวะโภชนาการพบว่า ความจำ ระยะสั้นเกี่ยวกับการมองเห็นของกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าปกติและปกติ มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างจากกลุ่มที่มีน้ำหนักตัว สูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา ไม่พบความแตกต่างกันของคะแนนความจำ แสดงให้เห็นว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับทุกรูปแบบและองค์ประกอบของความจำ ขณะที่อายุมีความสัมพันธ์กับความจำระยะยาว เกี่ยวกับการมองเห็น และภาวะโภชนาการสัมพันธ์กับความจำระยะสั้นเกี่ยวกับการมองเห็น ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่พบ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งควรศึกษาความจำร่วมกับความสามารถด้านการรู้คิดอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป