Attitude, awareness and characteristics of emergency contraceptive pill usage among adolescents

Authors

  • Nucharee Sangsawang Department of Maternal Child Nursing and Midwifery, Faculty of Nursing, Srinakharinwirot University
  • Bussara Sangsawang Departments of Maternal Child Nursing and Midwifery, Faculty of Nursing, Ubon Ratchathani Rajabhat University
  • Prapaporn Wisarapun Departments of Maternal Child Nursing and Midwifery, Faculty of Nursing, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Keywords:

ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน, วัยรุ่น, การป้องกันการตั้งครรภ์ ทัศนคติ, ความตระหนัก, emergency contraceptive pill, adolescent, pregnancy prevention, attitude, awareness

Abstract

The emergency contraceptive pill (ECP) is effective in preventing unintended pregnancy. This study was a descriptive research. The aim of this study was to investigate the characteristics of ECP usage in female adolescence, and compare the attitudes and awareness of using ECP. The subjects were junior and senior high school students living in Bangkok, aged between 13-19 years. They were divided into 2 groups, 85 subjects per group. The research tool was a questionnaire asking about attitude, awareness and the characteristics of ECP used. The data was analyzed by descriptive statistics and t-test. The results found the group of junior and senior high school students knew the ECP for preventing unintended pregnancy after unprotected sexual intercourse (98.8% vs. 97.6%, respectively). However, the adolescents were uncertain when the ECP should be used efficiently (58.8% vs. 41.2%, respectively). Most of these adolescents have ever received information about ECP from peer (23.5% vs. 22.3%, respectively) and most gave a reason to use ECP that it might be the most effective way to prevent pregnancy (20.0% vs. 23.5%). The senior high school students had lower mean scores for attitudes about using ECP than the junior high school students (34.6 vs. 36.2, p = 0.121, respectively). However, they had statistically significant higher scores for awareness about ECP than the junior high school students (7.2 vs. 5.5, p = 0.000 respectively). The overall attitudes about using ECP were in positive. Most of this group have ever heard or been aware of the ECP (88.2% and 94.1%, respectively). Some in both groups had ever heard about or understood the mechanisms of emergency contraceptive pills (30.6% and 51.8%, respectively). Adolescents should be use the ECP for prevent unintended pregnancy. The health care providers should provide information of mechanism, method of usage, side effect, and effectiveness of ECP to adolescents.

 

ทัศนคติ ความตระหนัก และลักษณะ การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินในวัยรุ่น

ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพเมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในวัยรุ่นหญิง เปรียบเทียบทัศนคติ และความตระหนักของการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษา ตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร อายุ 13-19 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 85 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามทัศนคติ ความตระหนัก และลักษณะการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ t-test ผลการ ศึกษาพบกลุ่มมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายรู้จักใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าต้องรับประทานเมื่อไรเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ (98.8% vs. 97.6%, 58.8% vs. 41.2% ตามลำดับ) วัยรุ่นทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เคยรับรู้เกี่ยวกับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน จากกลุ่มเพื่อน (23.5% vs. 22.3% ตามลำดับ) และส่วนมากให้เหตุผลการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินคือ ป้องกัน การตั้งครรภ์ได้ดีที่สุด (20.0% vs. 23.5%) วัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติการใช้ ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินน้อยกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แต่มีความตระหนักของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินมากกว่าชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (34.6 vs. 36.2, p = 0 .121; 7.2 vs. 5.5, p = 0.000 ตามลำดับ) วัยรุ่น ทั้งสองกลุ่มมีทัศนคติของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินในภาพรวมทางบวก เกือบทั้งหมดเคยได้ยินหรือตระหนักถึง ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน (88.2% vs. 94.1% ตามลำดับ) มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เคยได้ยินหรือเข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ (30.6% vs. 51.8%ตามลำดับ) วัยรุ่นควรใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ควรให้ข้อมูลของยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินเกี่ยวกับกลไกป้องกันการตั้งครรภ์ วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง อาการข้างเคียง และ ประสิทธิภาพของยาแก่วัยรุ่น

Downloads

Published

2016-04-07

How to Cite

1.
Sangsawang N, Sangsawang B, Wisarapun P. Attitude, awareness and characteristics of emergency contraceptive pill usage among adolescents. J Med Health Sci [Internet]. 2016 Apr. 7 [cited 2024 Jul. 1];23(1):15-2. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/58598

Issue

Section

Original article (บทความวิจัย)