Detection of human metapneumovirus antigen in nasopharyngeal washing specimens by immunofluorescence assay

Authors

  • Bualan Kaewnaphan
  • Niracha Athipanyasilp
  • Supattra Khamsorn
  • Wannee Kantakamalakul
  • Navin Horthongkham

Keywords:

ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส, น้ำล้างหลังโพรงจมูก อิมมูนเรืองแสง ความไวและจำเพาะ ความชุก

Abstract

เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส เป็นไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจที่ได้ถูกแยกเมื่อไม่นานนี้ โดยมี
ความสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างของเด็กและผู้ใหญ่ แม้ว่า
การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชเอ็มพีวีทางห้องปฏิบัติการจะเชื่อถือการตรวจโดยใช้เทคนิคทางอณูชีว
โมเลกุล แต่มีข้อจำกัดเรื่องราคา การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น เช่น การตรวจด้วยเทคนิคอิมมูนเรืองแสง
(Immunofluorescence assay, IFA) ยังคงมีความต้องการ เนื่องจากมีราคาถูกและให้ผลตรวจที่รวดเร็ว ดังนั้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อทำาการตรวจประเมินวิธีการทดสอบด้วยวิธีอิมมูนเรืองแสงชนิดไดเรคและการ
หาความชุกของการติดเชื้อเอชเอ็มพีวี ในโรงพยาบาลศิริราช ประเทศไทย โดยใช้ตัวอย่างตรวจจากน้ำล้างหลัง
โพรงจมูกจำนวน 655 ตัวอย่างจะถูกเก็บใน viral transport media (VTM) และน้ำส่งมายังห้องปฏิบัติการ
จุลชีววิทยา โรงพยาบาลศิริราช ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2555 ถึง เดือนเมษายน 2556 ขณะที่ตัวอย่าง
จำนวน 475 ตัวอย่างจะถูกเก็บระหว่างเดือนกรกฎาคม 2556 ถึง เดือนมิถุนายน 2557 ค่าความไวของวิธีอิมมูน
เรืองแสงจะถูกเปรียบเทียบกับปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสในสภาพจริง โดยพบว่ามีค่าความไวร้อยละ 95.5 และ
ความจำเพาะร้อยละ 94.7 เมื่อเทียบกับปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสในสภาพจริง ความชุกของการตรวจพบเชื้อ
เอชเอ็มพีวีในเดือนพฤษภาคม 2555 ถึง เดือนเมษายน 2556 พบร้อยละ 3.8 (25/655) และเดือนกรกฎาคม
2556 ถึง เดือนมิถุนายน 2557 พบร้อยละ 5.7 (27/475) ค่าความชุกของเชื้อเอชเอ็มพีวีจะพบสูงที่สุดในเด็ก
อายุน้อยกว่า 5 ปี และจะพบมากในช่วงเดือนสิงหาคม 2555 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2556 และเดือนสิงหาคม
2556 ถึง เดือนมกราคม 2557 ซึ่งอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวของประเทศไทย

References

--

Downloads

Published

2019-04-29

How to Cite

1.
Kaewnaphan B, Athipanyasilp N, Khamsorn S, Kantakamalakul W, Horthongkham N. Detection of human metapneumovirus antigen in nasopharyngeal washing specimens by immunofluorescence assay. J Med Health Sci [Internet]. 2019 Apr. 29 [cited 2024 Apr. 19];26(1):48-55. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/185697