Assessment of occupational noise during stone carving and mortar in workers in Phayao Province

Authors

  • Sakesun Thongtip
  • Pongsaton Silangirn

Keywords:

occupational noise, stone mortar workers, sound level meter

Abstract

เสียงดังเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์เป็นอันตรายต่อสุขภาพและจิตใจของผู้ประกอบอาชีพ มากกว่านั้นการ
ประกอบอาชีพแกะสลักหินและทำครกหิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขั้นตอนการปาดและการกลึง ที่มีการใช้เครื่องเจียร
และเครื่องตัด ที่ก่อให้เกิดเสียงดังในพื้นที่การทำงาน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินระดับเสียง
ในที่ทำงาน วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมินระดับเสียงดังในที่ทำงานของผู้ประกอบอาชีพแกะสลักหิน
และทำครกหิน จังหวัดพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องตรวจวัดเสียง (Sound Level Meter) การ
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติ analysis of
variance (ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ระดับเสียงตลอดระยะเวลา 8 ชั่วโมงการทำงาน (TWA) ในแต่ละขั้นตอน
การผลิต ประกอบด้วย ปาดสากและครกหิน กลึงครกหิน กลึงสากหิน สกัดครกหิน และแกะสลักลูกนิมิตร
มีค่าเฉลี่ยของระดับเสียงเท่ากับ 99.1, 85.6, 84.7, 82.3 และ 73.5 dB(A) ตามลำดับ ขั้นตอนการทำงานที่ต่างกัน
มีค่าเฉลี่ยระดับเสียง 8 ชั่วโมงการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และขั้นตอนการ
ทำงานที่มีระดับเสียงดังสูงกว่าค่ามาตรฐานของกระทรวงแรงงานและมาตรฐาน NIOSH คือ ขั้นตอนปาดสาก
และครกหิน และขั้นตอนกลึงครกหิน และขั้นตอนการผลิตที่มีระดับเสียงดังสูงกว่าค่ามาตรฐานของ OHSA คือ
ขั้นตอนปาดสากและครกหิน ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างสม่ำเสมอ เช่น
ที่อุดหู (Ear plug) หรือที่ครอบหู (Ear muff) เพื่อลดการสัมผัสเสียงดังในพื้นที่ทำงาน

References

--

Downloads

Published

2019-04-29

How to Cite

1.
Thongtip S, Silangirn P. Assessment of occupational noise during stone carving and mortar in workers in Phayao Province. J Med Health Sci [Internet]. 2019 Apr. 29 [cited 2024 Dec. 22];26(1):38-47. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/185694

Issue

Section

Original article (บทความวิจัย)