การเปรียบเทียบของมุมในผู้ป่วยนิ้วหัวแม่เท้าเกเข้าหานิ้วชี้ขณะลงน้ำหนักขาข้างเดียว กับขณะลงน้ำหนักขาสองข้างโดยวิธีถ่ายภาพทางรังสี
Keywords:
นิ้วหัวแม่เท้าเกเข้าด้านใน, มุมของนิ้วหัวแม่เท้าเกเข้าหานิ้วชี้, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์, ค่าเฉลี่ย ของค่าความแตกต่างระหว่างสองวิธ, ช่วงของความแตกต่างระหว่างสองวิธAbstract
บทคัดย่อ
โรคนิ้วหัวแม่เท้าเกเข้าด้านในเป็นโรคที่พบบ่อย การวัดมุมของนิ้วหัวแม่เท้าเกเข้าหานิ้วชี้ (hallux valgus angle: HVA) จากการถ่ายภาพรังสีลงน้ำหนักสองข้างยังคงถูกใช้เป็นมาตรฐาน แต่การยืนลงน้ำหนัก ของขาสองข้างอาจไม่มีความเที่ยงของน้ำหนักที่ลงสู่เท้า วิธีอื่นที่อาจได้ข้อมูลเหมือนกันและการเก็บข้อมูล ท้ำได้ง่ายคือ การถ่ายภาพรังสีขณะลงน้ำหนักที่ขาข้างเดียว วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ก็เพื่อพิสูจน์ ความสัมพันธ์ของค่า HVA โดยวิธีการถ่ายภาพรังสีขณะลงน้ำหนักขาข้างเดียวกับขณะลงน้ำหนักขาสองข้าง การเก็บข้อมูลของเท้าที่เป็นนิ้วแม่เท้าเกเข้าหานิ้วชี้ จำนวน 30 ข้าง แต่ละข้างจะถ่ายภาพรังสีของเท้าใน แนวหลังเท้าและฝ่าเท้า ทั้งวิธีลงน้ำหนักข้างเดียวและวิธีลงน้ำหนักสองข้าง จากนั้นวัดมุม HVA เพื่อมา เปรียบเทียบกัน โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (ICC) ค่าเฉลี่ยของค่าความแตกต่างระหว่างสองวิธี (mean difference) และช่วงของความแตกต่างระหว่างสองวิธี (mean range of difference) ผลการหา ค่าเฉลี่ยของค่าความแตกต่างระหว่างสองวิธีมีค่า เท่ากับ -0.67 องศา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างลงน้ำหนัก ขาเดียวกับสองขา (95% ช่วงความเชื่อมั่น -2.43 ถึง 1.1 องศา) และช่วงของความแตกต่างระหว่างสองวิธี มีความแม่นยำอยู่ในช่วง 16.79 องศา (ต่ำสุด -9.06 ถึง สูงสุด 7.73 องศา) ส่วนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (ICC) มีค่าเท่ากับ 0.9 (95% ช่วงความเชื่อมั่น 0.799 - 0.952) โดยมุม HVA ที่ได้จากการวัดทั้งสองวิธีไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าการวัดโดยวิธีลงน้ำหนักขาเดียวทำให้ผู้ป่วยเจ็บและลำบากมากขึ้น ดังนั้น การถ่ายภาพรังสีโดยการลงน้ำหนักขาทั้งสองข้างยังมีความเหมาะสม เพราะทำได้ง่าย และให้ข้อมูลที่ ไม่แตกต่างจากการลงน้ำหนักขาข้างเดียวซึ่งทำได้ยากกว่า
Abstract
Hallux valgus is a common musculoskeletal foot disorder. Double legs weight bearing radiographic measurement of hallux valgus angles (HVA) is considered being the most accurate assessment of HVA. However, it may has some error from unbalance. An alternative way that may provide the same information and make technician easy to collect data is single leg weight bearing radiograph. This study aimed to investigate the different parameters between double leg and single leg techniques for valuation of HVA. The HVA was examined in thirty feet and measured by double legs and single leg weight bearing radiograph which performed with standardized static weight bearing dorsoplantar foot radiographs. The intra-class correlation coefficients (ICC) and levels of agreement were statistically analyzed by using Bland & Altman plots. The comparison of double legs to single leg weight bearing radiographic measurements for HVA showed an intra-class correlation coefficient (ICC) of 0.9 (95% confidence interval, 0.799 to 0.952). The systematic difference of the two methods was -0.67 degrees (95% confidence interval, -2.43 to 1.1 degrees, SD = 4.28) and mean range of difference was 16.79 (-9.06 to 7.73). The HVA results from the two techniques is not significant difference. But patients get more pain when standing on single leg during radiographs. Therefore, the double leg standing was proven to be a suitable method for measurement of HVA because it is easy and provide the same data as single leg weight bearing radiograph.
References
of hallux valgus in the general
population: a systematic review and
metaanalysis. J Foot Ankle Res 2010;
3:21.
2. Badlissi F, Dunn JE, Link CL, et al. Foot
musculoskeletal disorders, pain, and
foot-related functional limitation in
older persons. J Am Geriatr Soc 2005;
53:1029-33.
3. Vanore JV, Christensen JC, Kravitz SR,
et al. Diagnosis and treatment of first
metatarsophalangeal joint disorders.
Section 1: Hallux valgus. J Foot Ankle
Surg 2003;42:112-23.
4. Kelikian AS. The surgical treatment
of hallux valgus using the modified
Z-osteotomy. Clin Sports Med 1988;7:61-74.
5. Vanore JV, Christensen JC, Kravitz SR,
et al. Diagnosis and treatment of first
metatarsophalangeal joint disorders.
Section 1: Hallux valgus. J Foot Ankle
Surg 2003;42:112-23.
6. Saro C, Johnson DN, Martinez De Aragon
J, et al. Reliability of radiological and
cosmetic measurements in hallux
valgus. Acta Radiol 2005; 46:843-51.
7. Schneider W, Csepan R, Kasparek M, et
al. Intra- and interobserver repeatability
of radiographic measurements in hallux
surgery: improvement and validation
of a method. Acta Orthop Scand
2002;73:670-3.
8. Desai SS, Shetty GM, Song HR, et al.
Effect of foot deformity on conventional
mechanical axis deviation and ground
mechanical axis deviation during single
leg stance and two leg stance in genu
varum. Knee 2007;14(6):452-7.
9. Menz HB, Munteanu SE. Radiographic
validation of the Manchester scale for the
classification of hallux valgus deformity.
Rheumatology 2005;44(8):1061-6.
10. Paley D. Principles of deformity
correction. New York: Springer-Verlag;
2002.
11. Cavanagh PR, Morag E, Boulton AJ, et al.
The relationship of static foot structure
to dynamic foot function. J Biomech
1997;30:243-50.
12. Schneider W, Csepan R, Knahr K.
Reproducibility of the radiographic
metatarsophalangeal angle in hallux
surgery. J Bone Joint Surg Am 2003,85-
A:494-9.