การรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน

Main Article Content

จิรัชยา เจียวก๊ก
สุภาวี หมัดอะด้ำ
อัสมา เกษตรกาลาม์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อหิน ความรู้การใช้ยาหยอดตาของผู้ป่วยต้อหิน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคต้อหินที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและมารับการรักษาในหอผู้ป่วยตาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ความเที่ยงโดยสูตรค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันมีค่า

เท่ากับ 0.746 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย: พบว่า ผู้ป่วยต้อหินที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและมารับการรักษาในหอผู้ป่วยตาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ส่วนใหญ่รับรู้ว่าเป็นต้อหินร้อยละ 72.73 ทราบว่าโรคต้อหินมีความสัมพันธ์กับ

การเกิดความดันในลูกตาสูง ร้อยละ 68.18 ผู้ป่วยต้อหินทราบว่าหากไม่ได้รักษาทำให้ตาบอดได้ ร้อยละ90.91ในด้านความสามารถในการทำกิจประจำวันพบว่าผู้ป่วยต้อหินส่วนใหญ่จะไม่สามารถหยอดยาได้เอง

ร้อยละ 87 รองลงมาคือ การอ่านฉลากยาไม่สามารถทำได้ ร้อยละ 82 ไม่สามารถขึ้นรถประจำทางได้ ร้อยละ 68 พบปัญหาจากการใช้ยาหยอดตาอันดับแรก คือผู้ป่วยต้อหินลืมหยอดยา ร้อยละ 81.82 ซึ่งผู้ป่วยจะหยอดตาทันทีที่นึกได้ ร้อยละ 45.46 และรอไปหยอดครั้งต่อไป ร้อยละ 36.36 โดยที่ไม่ทราบถึงผลเสียของการไม่หยอดยาถึงร้อยละ 15 ปัญหาจากการใช้ยาหยอดตาอันดับ 2 คือ ผู้ป่วยต้อหินยาหมดก่อนนัด ร้อยละ 59.09 ซึ่งผู้ป่วยจะมาตรวจเพื่อรับยาที่โรงพยาบาล ร้อยละ 22.73 ยาหมดไม่ได้หยอดร้อยละ 18.18 และซื้อยาหยอดตาเอง ร้อยละ 18.18 ปัญหาจากการใช้ยาหยอดตาอันดับ 3 คือ ใช้ยาหยอดตาขวดเก่านานมากกว่า 1 เดือนพบ ร้อยละ 54.55 การรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อหินที่ถูกต้องนั้นจะทำให้การรักษาได้ผลดีมีประสิทธิภาพ

 

Perception and Self-Care Behaviors in Patients with Glaucoma

Abstract

This study is a survey research to study the knowledge and self-care behavior in patients with glaucoma. including how to use eye drops for glaucoma patients who have been treated in the eyes unit at Songklanagarind hospital. The subjects were glaucoma patients who have been treated in the eyes unit at Songklanagarind hospital. Tools used in the research were questionnaire about awareness and

self-care behavior in patients with glaucoma. Content was rechecked by a panel of experts. The validity

was analyzed by third formula Pearson correlation coefficient is equal to 0.746 and percentage average

were used for statistical analysis of the data. The results of the study revealed that: glaucoma patients were treated with medications and admitted at eyes ward, in Songklanagarind hospital. Glaucoma patients who realize themselves as glaucoma are 72.73%. That glaucoma is related to high intraocular pressure 68.18 %. If without treatment will get blind 90.91%. Can’t read the label of the eye drop bottle 87.82%. Three medication usage problems behaviors are: First , forgetfulness 81.82%. which They have immediately re-correct 45.46%. Forgot to apply eye drop daily 36.36%. They don’t know disadvantage of missed eye drops 15%. Second, the eye drops ran out before the doctor’s appointment schedule 59.09%. Patients come to the hospital to get eye drop 22.73%. Empty of bottles made no eye drops 18.18%. Buy eye drops by themselve to 18.18%. Third, continuing to use the same bottle of eye drop for longer than 30 days

54.55%.


Article Details

Section
Original Study