การศึกษาผลการระงับความเจ็บปวดของการฉีดยาชา Subconjunctival Anesthesia เปรียบเทียบกับ Retrobulbar Anesthesia ในการทำผ่าตัดต้อกระจก โดยวีธี Modified Blumenthal Technique
Main Article Content
Abstract
ความรู้พื้นฐาน: การฉีดยาชาด้วยวิธี retrobulbar anesthesia ก่อนการผ่าตัดต้อกระจกแบบ manual small
incision ECCE (modified Blumenthal technique)สามารถระงับความเจ็บปวดของผู้ป่วยอีกทั้งยังสามารถ
ช่วยให้ตาของผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อยลง ทำ ให้จักษุแพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้สะดวกขึ้น แต่การฉีดยาชาด้วยวิธี retrobulbar anesthesia ก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย ทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จักษุแพทย์จึงเลือกหาวิธีการระงับความเจ็บปวดที่มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า มาใช้ในการทำผ่าตัดต้อกระจก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการระงับความเจ็บปวดขณะทำผ่าตัดต้อกระจกโดยจักษุแพทย์ด้วยการฉีดยาชา
วิธี subconjunctival anesthesia เปรียบเทียบกับวิธี retrobulbar anesthesia
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective Randomized Control Trial มีประชากรตัวอย่าง (Sample)
เป็นผู้ป่วยโรคต้อกระจก (non-complicated cataract) ในรพ.พระปกเกล้าจันทบุรีช่วงเดือน ตุลาคม 2553-
กุมภาพันธ์ 2555 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีจับ สลากเลือกวิธีฉีดยาชา หลังจากการผ่าตัดเสร็จแล้วให้
ผู้ป่วยทำการประเมิน Pain Scores ขณะได้รับการผ่าตัดนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยวิธี t-test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมศึกษามีจำนวน 162 ราย ได้รับการผ่าตัดรายละ 1 ตา แบ่งเป็นกลุ่ม subconjunctivalanesthesia จำนวน 85 ราย และผู้ป่วยกลุ่ม retrobulbaranesthesia จำนวน 77 รายพบว่า
- ขณะได้รับการผ่าตัดผู้ป่วยกลุ่ม subconjunctival anesthesia มี Pain Scores เฉลี่ย 31 (SD=25) คะแนน
น้อยกว่ากลุ่ม retrobulbar anesthesia ซึ่งมี Pain Scores เฉลี่ย 33 (SD=25) คะแนนโดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference score = -2 (95%CI= -9,5 ; p> 0.05) )
- ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอุปสรรคในการทำผ่าตัดหรือเป็นอันตรายต่อดวงตาจากการฉีดยาชาทั้ง 2 วิธี
- พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจกในกลุ่ม subconjunctival anesthesia 7 รายและกลุ่ม retrobulbar anesthesia 10 ราย
- BCVA (Best corrected visual acuity) หลังการผ่าตัด 1 สัปดาห์ ที่ระดับ 20/20 - 20/40 ในกลุ่ม
subconjunctival anesthesia มีจำนวน 82 รายและกลุ่ม retrobulbar anesthesia มีจำนวน 71 ราย
สรุป: การฉีดยาชาด้วยวิธี subconjunctival anesthesia สามารถใช้ระงับความเจ็บปวดขณะทำผ่าตัดต้อกระจก (modified Blumenthal technique) ได้ไม่แตกต่างจากวิธี retrobulbar anesthesia
Subconjunctival Anesthesia Versus Retrobulbar Anesthesia for Modified
Blumenthal Technique Cataract Surgery in Prapokklao Hospital
Abstract
Objective: To compare result of pain control between Subconjunctival Anesthesia and Retrobulbar Anesthesia during Modified Blumenthal Technique Cataract Surgery
Design: Prospective Randomized Clinical Trial
Method: One hundred and sixty two eyes of 162 simple cataract patients in Prapokklao Hospital were randomized to receiving subconjunctival anesthesia or retrobulbar anesthesia before Modified Blumenthal Technique Cataract Surgery with intracapsular IOL implantation. Pain scores during cataract surgery of two groups were evaluated.
Results: One hundred and sixty two eyes were randomized into two groups, 85 eyes which receiving
subconjunctival anesthesia and 77 eyes receiving retrobulbar anesthesia. During cataract surgery mean
pain scores of subconjunctival anesthesia group was 31 (SD=25) and retrobulbar anesthesia group was 33
(SD=25) (mean difference score = -2 (95%CI=-9,5 ; p>0.05))
Conclusion: Subconjunctival Anesthesia provided pain control equivalent to Retrobulbar Anesthesia during Modified Blumenthal Technique Cataract Surgery.