การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบยา Loteprednol Etabonate กับยา Ketorolac Tromethamine ในการป้องกันและรักษาอาการปวด อาการอักเสบภายหลัง การผ่าตัดต้อเนื้อร่วมกับการวางเยื่อหุ้มรก

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงวิมลวรรณ ตั้งปกาศิต
แพทย์หญิงเบญจพร สิกขมาน

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบยา loteprednol etabonate กับยา ketorolac tromethamine ในการป้องกันและรักษา อาการปวด อาการอักเสบภายหลังการผ่าตัดต้อเนื้อ ร่วมกับการวางเยื่อหุ้มรก

รูปแบบการศึกษา: prospective, randomized, intervention study

วิธีการศึกษา: ภายหลังการผ่าตัดต้อเนื้อร่วมกับการวาง เยื่อหุ้มรก ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 25 คน คิดเป็นจำนวน 28 ตา ทำการแบ่งแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับยา หยอดตาเป็นยา loteprednol etabonate กลุ่มที่สองได้รับ ยาหยอดตาเป็นยา ketorolac tromethamine โดยหยอดยา วันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นหยอดยา วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 2 เดือน ประเมินอาการปวดตาโดย การตอบแบบสอบถาม และตรวจตาประเมินการอักเสบ ของตาหลังการผ่าตัดที่ 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 2 เดือน และ 3 เดือน ตามลำดับ

ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยเรื่องอาการปวดตาเคืองตา ระหว่างกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 1 เท่ากับ 1.78 และ 1.50 (p=0.47) ในเดือนที่ 1 เท่ากับ 1.28 และ 1.18  (p=0.45) ในเดือนที่ 2 เท่ากับ 0.62 และ 0.67 (p=0.24) และในเดือนที่ 3 เท่ากับ 0.43 และ 0.33 (p=0.15) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยเรื่องอาการอักเสบที่ตาระหว่าง กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 1 เท่ากับ 1.63 และ 1.25 (p=0.20) ในเดือนที่ 1 เท่ากับ 0.43 และ 0.54 (p=0.16) ในเดือนที่ 2 เท่ากับ 0.25 และ 0.11 (p=0.18) และใน เดือนที่ 3 เท่ากับ 0.06 และ 0.11 (p=0.08) ตามลำดับ

บทสรุป: เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดอาการ ปวดและอาการอักเสบภายหลังการผ่าตัดต้อเนื้อระหว่าง ยา loteprednol etabonte กับ ketorolac tromethamine พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่พบภาวะเยื่อหุ้มรกละลาย ในกลุ่มที่ได้รับยา ketorolac tromethamine มากกว่า

 

Comparison of Loteprednol etabonate Versus Ketorolac tromethamine for Postoperative Pain and Inflammation after Pterygium Excision and Amniotic Membrane Graft

Objective: To compare the efficacy of loteprednol etabonate and ketorolac tromethamine after pterygium excision with amniotic membrane graft according to postoperative ocular pain and ocular surface inflammation.

Design: Prospective, randomized, intervention study

Methods: After pterygium excision and amniotic membrane graft, 25 patients (28 eyes) were randomized into 2 groups. Group-1 received topical loteprednol etabonate and group-2 received topical ketorolac tromethamine, 4 times daily for 1 month then twice daily for 2 months. Patients were evaluated for ocular pain (0-6 scoring scales) and ocular surface inflammation (0-9 scoring scales) at 1 week and 1, 2, and 3 months.

 

Results: Mean ocular discomfort scores in group-1 and group-2 were 1.78 and 1.50 (p=0.47) at 1week, 1.28 and 1.18 (p=0.45) at 1 month, 0.62 and 0.67 (p=0.24) at 2 months, 0.43 and 0.33 (p=0.15) at 3 months, respectively. Mean ocular surface inflammation scores in group-1 and group-2 were 1.63 and 1.25 (p=0.20) at 1 week, 0.43 and 0.54 (p=0.16) at 1 month, 0.25 and 0.11 (p=0.18) at 2 months, 0.06 and 0.11 (p=0.08) at 3 months, respectively. Group-2 had 3 cases of amniotic membrane melting (25%).

Conclusion: No significant difference between topical loteprednol etabonate and ketorolac tromethamine controlling ocular pain and ocular surface inflammation after pterygium excision and amniotic membrane graft. Amniotic membrane melting was more common in ketorolac tromethamine group.


Article Details

Section
Original Study