ข้อบ่งชี้และภาวะแทรกซ้อนของการฉีดยา Bevacizumab หรือ Ranibizumab เข้าน้ำวุ้นลูกตา ในผู้ป่วยจอประสาทตา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อบ่งชี้และภาวะแทรกซ้อน ของการฉีดยา Bevacizumab หรือ Ranibizumab เข้า น้ำวุ้นลูกตา ในผู้ป่วยจอประสาทตา โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
รูปแบบการวิจัย: ศึกษาเชิงพรรณนาจากเวชระเบียน ย้อนหลัง
วิธีการวิจัย: เก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียน ย้อนหลังผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการฉีดยา Bevacizumab และ Ranibizumab เข้าลูกตา ที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่มิถุนายน 2551 – กรกฎาคม 2555 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลอายุ เพศ ข้อบ่งชี้ในการรักษา ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาทั้งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังฉีดยา
ผลการวิ จัย: ผู้ ป่ วยได้รั บการฉี ดยา Ranibizumab จำ นวน 59 คน ข้อบ่งชี้ในการรักษาที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคจุด รับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยา Bevacizumab ทั้งสิ้นจำนวน 491 คน ข้อบ่งชี้ในการ รักษาที่พบมากที่สุดได้แก่ ภาวะจุดรับภาพบวมจาก โรคเบาหวาน ส่วนเรื่องภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทาง ร่างกายพบโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดภายหลังจาก การฉีดยา Bevacizumab เข้าน้ำวุ้นลูกตาจำนวน 1 ราย (0.2%) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทางร่างกายจาก การฉีดยา Ranibizumab และ ยาทั้งสองชนิดไม่พบภาวะ แทรกซ้อนรุนแรงทางตาภายในหนึ่งเดือนหลังการฉีดยา
สรุป: ในระยะที่ผ่านมามีการใช้ยา Bevacizumab และ Ranibizumab ฉีดเข้าลูกตาอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยพบว่ามีการฉีดในภาวะ จุดรับภาพบวมจากโรคเบาหวานมากที่สุด ทั้งนี้พบภาวะ แทรกซ้อนรุนแรงทั้งทางตาและร่างกายจากการฉีดยา ทั้งสองน้อย
The Indication and Adverse Effects of Intravitreal Bevacizumab or Ranibizumab Injections in Retinal Patients at Thammasat University Hospital
Objective: To study the indication and adverse effects of intravitreal Bevacizumab or Ranibizumab injections in retina patients at Thammasat university hospital
Design: Descriptive medical chart review
Methods: From June 2008 to July 2012, we carried out a retrospective medical chart review of patients which have intravitreal Bevacizumab or Ranibizumab injections in retinal clinic in Thammasat university hospital. We collect age, gender, indication and adverse effect after injecting each drug within 1 month.
Results: We found 59 people undergone intravitreal Ranibizumab injection and the most indication for injection is age-related macular degeneration. We found 491 people undergone intravitreal Bevacizumab injection and the most indication is diabetic macula edema. There are only one people (0.2%) that has serious systemic adverse effect (ischemic heart disease) within 1 month after intravitreal Bevacizumab injection but not found serious systemic adverse effect in patient undergone intravitreal Ranibizumab injection. However no serious ophthalmic complication was found in both groups.
Conclusion: There are widely use of intravitreal Ranibizumab and Bevacizumab injection for treatment of ocular condition in Thammasat university hospital. The overall most indication is diabetic macular edema. And there are rarely serious systemic and ocular adverse effects from each drug injection.