การศึกษาเปรียบเทียบค่าความดันลูกตาระหว่างการวัดด้วยเครื่องวัดความดัน ลูกตาชนิดโกลด์แมนน์ (Goldmann applanation tonometer) และเครื่องมือ ชนิดไอแคร์ (The I-Care rebound tonometer) ในผู้ป่วยโรคต้อหิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Main Article Content
Abstract
บทนำ: ค่าความดันลูกตาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการ วินิจฉัยและรักษาในผู้ป่วยโรคต้อหิน ซึ่งการวัดความดัน ลูกตาแบบมาตรฐานคือ การวัดด้วยเครื่องวัดความดัน ลูกตาชนิดโกลด์แมน (Goldmann applanation tonometry: GAT) อย่างไรก็ตาม เครื่องวัดชนิดนี้ยังมีข้อจำกัดใน การใช้สำหรับผู้ป่วยบางประเภท เช่น ผู้ป่วยเด็ก หรือ ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ของยาชา กระดาษฟลูโอเรสซีน ที่ใช้ในการหยอดตาก่อนการวัดความดันลูกตา จึงมี การพัฒนาเครื่องมือวัดความดันลูกตาชนิดไอแคร์ ( I-Care rebound tonometry: RBT) ที่ไม่ต้องใช้ยาชา หยอดก่อนการวัด ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ และผู้ป่วยที่ ต้องการวัดความดันลูกตาเองที่บ้านด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่าง ของค่าความดันลูกตาที่วัดได้จากการวัดความดันลูกตา ด้วยวิธี Goldmann applanation tonometer (GAT) และ The iCare rebound tonometer (RBT)
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (prospective study) จากผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 82 คนโดยผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการวัดความดันลูกตาด้วย เครื่องมือสองชนิดคือ The iCare rebound tonometer (RBT) ทั้งการใช้และไม่ใช้การหยอดยาชนิดยาหยอดตา และวิธี Goldmann applanation tonometer (GAT)
ผลการศึกษา : กลุ่มทดลอง 164 ตา จากผู้ป่วยโรคต้อหิน ทั้งหมด 82 คน (ชาย 41 คน และ หญิง 41 คน ) อายุเฉลี่ย 65 ปี (35-92 ปี) ทำการทดลองโดยการวัดด้วย GAT และ RBT (ทั้งแบบหยอดยาชาและไม่หยอดยาชา) พบ ว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการวัดความ ดันลูกตาด้วย RBT แบบหยอดและไม่หยอดยาชา (mean difference 0.037 ± 2.64 mmHg ;p 0.86) การทดลองได้ มีการแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือ IOP < 21 mmHg จำนวน 16 คน IOP ≥ 21 mmHg จำนวน 66 คน พบว่า ความดันลูกตาเฉลี่ยของกลุ่ม IOP < 21 mmHg จากการ วัดด้วย GAT และ RBT คือ 13.6 ± 3.9 mmHg and 13.5 ± 4.9 mmHg (p 0.723) ตามลำดับ ความดันลูกตาเฉลี่ยกลุ่ม IOP ≥ 21 mmHg คือ 26.6±8.4 mmHg and 24.7 ± 9.7 mmHg (p 0.06) ตามลำดับ
สรุป : ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการวัด ความดันลูกตาด้วย RBT ระหว่างการหยอดและไม่หยอดยาชา และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการวัด ความดันลูกตาด้วย RBT และ GAT ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตามกลุ่มที่มีความดันลูกตา ≥ 21 mmHg พบว่า มีความเบี่ยงเบนของความดันลูกตามากกว่ากลุ่มความ ดันลูกตา < 21 mmHg
The Comparison of Intraocular Pressure Measurement by Goldmann Applanation Tonometer and I-Care Rebound Tonometer in Glaucoma Patients at Thammasat University Hospital.
Introduction: Intraocular Pressure (IOP) is an important value for glaucoma patients’ evaluation, diagnostic and management. The standard IOP measurement is Goldmann Applanation Tonometry (GAT). However, there may be limitations in some patients such as children, patients who are allergic to anesthetic eye drops or fluorescein staining. I-Care Rebound Tonometry (RBT) has been developed for IOP measurement without topical anesthesia. It is claimed to be easy to use, suitable for children or non co-operative patients and a home IOP monitoring.
Objective: To compare the difference of IOP values between GAT and RBT in glaucoma patients.
Methods: This is a prospective study from 82 glaucoma patients. The participants were examined by RBT with and without topical anesthesia and then by GAT.
Result: One hundred and sixty-four eyes from 82 subjects (male 41, female 41) were enrolled. The mean age was 65 year-old (range 35-92). GAT and RBT with and without topical 0.5% Tetracaine were performed in consent glaucoma patients between January and May 2011. There were no significant difference of IOP measured by RBT without and with topical 0.5% Tetracaine. The mean difference was 0.037 ± 2.64 mmHg (p 0.86).
We categorized patients into 2 groups, IOP < 21 mmHg (n=16) and ≥ 21 mmHg (n=66). Patients with IOP < 21 mmHg, mean IOP of GAT and RBT were 13.6 ± 3.9 mmHg and 13.5 ± 4.9 mmHg (p 0.723), respectively. Patients with IOP ≥ 21 mmHg, mean IOP of GAT and RBT were 26.6 ± 8.4 mmHg and 24.7 ± 9.7 mmHg (p 0.06), respectively.
Conclusion: There was no significant difference between RBT with and without topical anesthesia.There was no significant difference between GAT and RBT in both subject groups. However, patients with IOP ≥ 21 mmHg found higher deviation of IOP measurement than patients with IOP < 21 mmHg. Conclusion should be clear and specified. The reader can understand the conclusion without the need to read the whole abstract except the detail is needed such as the p value, mean IOP etc