Ocular surface squamous neoplasia

Main Article Content

รองศาสตราจารย์นายแพทย์โกศล คำพิทักษ์
นายแพทย์สุธี อนันต์ประเสริฐ

Abstract

Definition

Ocular surface squamous neoplasia (OSSN) ประกอบด้วย โรคความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุตาและ กระจกตา ตั้งแต่ผิดปกติเล็กน้อย (dysplastic lesion) จนถึงเป็นมะเร็งลุกลาม (invasive squamous cell carcinoma)1

Introduction

ชั้นเยื่อบุผิว (epithelium) ของกระจกตาและ เยื่อบุตา (conjunctiva) นั้นเป็นชนิด nonkeratinized stratified squamous epithelia ได้รับการเจริญมาจากชั้น ectoderm ซึ่งมีความต่อเนื่องกัน ดังนั้นหากการเกิดความ ผิดปกติของเซลล์ในชั้นเยื่อบุผิวจะไม่สามารถแยกออก จากกันได้อย่างชัดเจนว่าเกิดที่กระจกตาหรือเยื่อบุตา และชั้น substantia propria ของเยื่อบุตานั้นเชื่อมต่อกับ ชั้น Bowman’s layer ของกระจกตา โดยชั้น Bowman’a layer ทำหน้าที่ในการป้องกันการลุกลามของเซลล์ ผิดปกติของเซลล์ในชั้นเยื่อบุผิว (epithelial neoplasia) เซลล์เยื่อบุผิวที่รอยต่อระหว่างกระจกตาและตาขาว (limbal stem cell) เป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการแบ่ง ตัวสูง และเป็นต้นกำเนิดของเซลล์เยื่อบุผิวกระจกตา ใหม่ ถ้ามีอุบัติเหตุทำให้เซลล์เยื่อบุผิวของกระจกตาหลุด ลอกไป เซลล์เยื่อบุผิวใหม่นี้จะขยับเข้ามาแทนที่จากข้าง นอกเข้าด้านใน ดังนั้น เนื้อร้ายของเซลล์เยื่อบุผิว จึงมัก จะเกิดที่บริเวณรอยต่อระหว่างกระจกตาและตาขาว และค่อยกระจายตัวไปยังบริเวณข้างเคียง เช่น กระจกตา เยื่อบุตาขาว เป็นต้น2

Conjunctival squamous papilloma

Conjunctival squamous papillomas เป็น เนื้องอกชั้นไม่ร้ายแรง (benign lesion) พบ 1 หรือ 2 ข้างก็ได้ สามารถพบได้ทุกตำแหน่งของเยื่อบุตา (conjunctiva) และไม่ค่อยพบที่กระจกตา (cornea) เนื้อ งอกนี้ถูกเรียกว่า Papilloma เนื่องจากมีลักษณะของ เส้นเลือดเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยเยื่อบุผิวชนิด squamous epithelium ลักษณะทางคลินิกที่พบมี 2 ชนิด คือ ก้อนยื่น (exophytic lesion) และก้อนแบน (sessile lesion) โดยส่วนใหญ่มักเป็นชนิดก้อนยื่น อาจพบหนึ่ง ตำแหน่งหรือหลายตำแหน่งก็ได้ โดยหากพบว่ามีหลาย ตำแหน่งเชื่อว่าน่าจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อ Human papilloma virus (HPV) subtype 6, 11, 16, 18, 33 and 45

เนื้องอกชนิดนี้ (Papilloma) สามารถพบได้ ทุกตำแหน่งของผิวเยื่อบุตา (conjunctival surface) โดยมีลักษณะผิวใสโปร่งแสง มันวาว สามารถเห็น เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงได้ โดยเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยง จะมีลักษณะ เป็นจุดแดง (red dot) เมื่อเนื้องอกเกิดการ อักเสบ จะมีการกระตุ้นการสร้างขี้ไคล (keratinization) ซึ่งอาจจะบดบังเส้นเลือดฝอยได้ สามารถพบจุดสีดำ (pigmentation) ได้ในผู้ป่วยผิวสี

เนื้องอกชนิด papilloma ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเป็น เนื้อร้าย แต่สามารถกลายเป็นเนื้อร้ายได้ โดยอาจพบ ลักษณะดังนี้ คือ พบมีการสร้างขี้ไคล (keratinization), มีการติดกันของเยื่อบุผิวฝั่งเปลือกตาและลูกตา, พบ มีการอักเสบบริเวณก้อน หรือมีก้อนบริเวณเยื่อบุผิว ฝั่งเปลือกตา เป็นต้น

Article Details

Section
Review Article