ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดต้อเนื้อกับค่าสายตาเอียงที่กระจกตา
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาด ของต้อเนื้อที่ยื่นเข้ามาในกระจกตากับค่าสายตาเอียง ก่อนผ่าตัด และดูผลหลังการผ่าตัดต้อเนื้อถึงการ เปลี่ยนแปลงต่อค่าสายตาเอียง นอกจากนี้ยังศึกษาหา ขนาดของต้อเนื้อที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า สายตาเอียงอย่างมีนัยสำคัญหลังการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: การวิจัยศึกษาแบบเชิงวิเคราะห์ โดย เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยอายุระหว่าง 20-70 ปี ที่ได้รับการ วินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อเนื้อและมารับการรักษาโดยการ ผ่าตัดลอกออกที่หน่วยตรวจตา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน 2557 โดยมีการวัดขนาดต้อเนื้อก่อนการ ผ่าตัดและวัดค่าสายตาเอียงโดยเครื่องวัดค่าสายตาและค่า ความโค้งกระจกตาอัตโนมัติ (autorefractor keratometer) ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดที่ 1 เดือนและ 3 เดือน
ผลการศึกษา: การศึกษานี้มีผู้ป่วยเข้าร่วมจำนวน 103 ราย เพศชาย 44 คน (42.72%) เพศหญิง 59 คน (52.28%) จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ของต้อเนื้อที่ยื่นเข้ามาใน กระจกตาวัดได้ตั้งแต่ 3 ถึง 35 ตารางมิลลิเมตร และ วัดขนาดของต้อเนื้อที่แนวแกนนอนจาก limbus ได้ 1.5 ถึง 6.5 มิลลิเมตร โดยทำให้เกิดค่าสายตาเอียงที่วัดก่อน ผ่าตัดได้ 0 ถึง 12.75 diopter อีกทั้งตรวจพบว่าขนาด พื้นที่ของต้อเนื้อมีความสัมพันธ์กับค่าสายตาเอียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) หลังการผ่าตัด ลอกต้อเนื้อทำให้ค่าสายตาเอียงลดลง 1.44±2.23 diopter ที่ระยะเวลา 1 เดือน และลดลง 1.83±2.47 diopter ที่ระยะเวลา 3 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่ของ ต้อเนื้อขนาด 7.025 ตารางมิลลิเมตร (sensitivity=74% และ specificity=59%) และขนาดต้อเนื้อที่วัดใน แนวแกนนอนมากกว่าหรือเท่ากับ 2.85 มิลลิเมตร (sensitivity=80%, specificity=52%) จะเป็นขนาดที่ ทำให้ค่าสายตาเอียงลดลงหลังผ่าตัดได้มากที่สุด
สรุป: พื้นที่ต้อเนื้อที่มากกว่า 7.025 ตารางมิลลิเมตร และขนาดต้อเนื้อที่วัดในแนวแกนนอนที่มากกว่า 2.85 มิลลิเมตร จะทำให้มีผลต่อการลดลงของค่าสายตาเอียง ได้มากที่สุด 1.83 diopter ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการ พิจารณาเลือกผู้ป่วยในการเข้ารับการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ
Correlation between size of pterygium and corneal astigmatism
Objective: To study the relationship between the size of the pterygium on corneal surface with preoperative astigmatism and the result of astigmatism change after pterygium excision. In addition to measure the size of pterygium that affects change of astigmatism significantly after surgery.
Material and Methods: This study included patients between 20-70 year-old with pterygium who underwent eye examination and pterygium excision at the eye clinic, Thammasat University Hospital were included in the present study during May to November 2014. The pterygium preoperative size and astigmatism by autorefractor keratometer were measured, as well as postoperative astigmatism at 1 month and 3 months.
Results: There were 103 patients with 44 male (42.72%), 59 female (52.28%). Areas of pterygium 3 to 35 mm2 and horizontal size 1.5-6.5 mm causing the astigmatism size 0 to 12.75 diopter were discovered. The area of preoperative pterygium is significantly associated with astigmatism (p-value <0.001). Following surgery, measurements obtained included reduced astigmatism at 1 month (1.44 ± 2.23 diopter) and 3 months (1.83 ± 2.47 diopter). Extension of pterygium exceeded 7.025 mm2 (74% of sensitivity, 59% of specificity) and 2.85 mm (80% of sensitivity, 52% of specificity) correlated a chance of reduction of astigmatism.
Conclusion: Area of preoperative pterygium greater than 7.025 mm2 and 2.85 mm in horizontal size will affect the maximum reduction of astigmatism (1.83 Diopter). This may be useful in patient selection for pterygium excision.