การรับปรึกษาปัญหาทางตาจากแพทย์เพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลพะเยา โดยใช้ไลน์ผ่านทางสมาร์ทโฟน

Main Article Content

นายแพทย์ทศพร ยอดเมือง

Abstract

 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาทางตาที่แพทย์เพิ่มพูน ทักษะในโรงพยาบาลพะเยาต้องการปรึกษาจักษุแพทย์ โดยใช้ไลน์ผ่านทางสมาร์ทโฟน

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา

วิธีการวิจัย: เก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาทางตาที่แพทย์ เพิ่มพูนทักษะที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล พะเยาต้องการปรึกษาจักษุแพทย์โดยใช้ไลน์ผ่านทางสมาร์ทโฟนประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แยก เป็นปัญหาทางตาที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือไม่ได้เกิดจาก อุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ การบาดเจ็บร่วมของ อวัยวะอื่นๆ นอกเหนือทางตา เหตุผลที่แพทย์เพิ่มพูน ทักษะปรึกษาจักษุแพทย์ โรคที่แพทย์เพิ่มพูนทักษะไม่ แน่ใจในการวินิจฉัยหรือให้การรักษาเบื้องต้น ความ พึงพอใจของจักษุแพทย์ต่อภาพถ่ายที่ส่งมาปรึกษา และ ระยะเวลาที่จักษุแพทย์ให้คำแนะนำกลับทางไลน์

ผลการวิจัย: จากการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พบว่ามีผู้ป่วยปัญหา ทางตาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลพะเยาที่แพทย์เพิ่มพูน ทักษะต้องการปรึกษาจักษุแพทย์ทั้งหมด 282 ราย เป็น ผู้ป่วยอุบัติเหตุ 191 ราย (ร้อยละ 67.73) โดยสาเหตุของ อุบัติเหตุเกิดจากการจราจรมากที่สุดจำนวน 58 ราย (ร้อยละ 30.37) ปัญหาทางตาที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุที่ต้องการปรึกษามากที่สุดคือโรคตากุ้งยิงหรือเปลือกตา อักเสบ 16 ราย (ร้อยละ 17.58) เหตุผลในการปรึกษา จักษุแพทย์มากที่สุดคือเป็นโรคที่ต้องรักษาต่อโดยแพทย์ เฉพาะทาง 92 ราย (ร้อยละ 32.64) โรคที่แพทย์เพิ่มพูน ทักษะไม่มั่นใจในการวินิจฉัยหรือให้การรักษาเบื้องต้น มากที่สุดคือโรคเยื่อบุตาอักเสบ ร้อยละ 97.16 ของ ภาพที่ส่งมาปรึกษาเป็นที่พึงพอใจของจักษุแพทย์ และ ระยะเวลาที่จักษุแพทย์ให้คำแนะนำกลับทางไลน์เฉลี่ย 10.9 นาที

สรุปผลการวิจัย: การใช้ไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนเป็นช่อง ทางสื่อสารที่เป็นประโยชน์ระหว่างแพทย์เพิ่มพูนทักษะ กับจักษุแพทย์ในเวชปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การ วินิจฉัยโรคทางตาส่วนหน้าจากภาพถ่ายร่วมกับการให้ ประวัติอย่างย่อ

Ophthalmic Consultations Requested from Interns by Line Application
via Smartphones in Phayao Hospital

Objective: To observe the ophthalmic consultations requested from interns by Line application via smartphone in Phayao Hospital.

Design: Descriptive retrospective study

Methods: The ophthalmic problems consulted from interns by Line application at emergency room were collected, include patient’s general data, traumatic or non-traumatic case, cause of trauma, other associated injuries, reason to request the consultation, uncertain diagnoses or initial treatment, satisfied picture taking and duration that the ophthalmologists replied the consultation request.

Results: The data was collected from August 2013 to February 2015. In 282 ophthalmic consultation requests from interns at emergency room, there are 191 traumatic cases (67.73%). The most commonly cause of trauma was traffic accident in 58 cases (30.37 %). Hordeolum or blepharitis was the problem in non-traumatic group which interns requested the most consultation (16 cases, 17.58 %). The most reason for consultation was required specific treatment from the specialist by 32.69 % (92 cases). Conjunctivitis was the most uncertainly diagnosis or initial treatment. A total of 97.6 % was satisfied picture taking for the ophthalmologist needed to evaluate the problem. Average time that the ophthalmologist replied the consultation request was 10.9 minutes.

Conclusion: Smartphones can be useful instruments for clinical communication between interns and ophthalmologists especially for spot diagnosis in anterior eye segment problems by taking images with brief clinical history.


 

Article Details

Section
Original Study