การประเมินประสิทธิภาพในการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด ของสารสกัดสมุนไพรไทย

Main Article Content

วัชรีพร เกษมราษฎร์
สมศักดิ์ จันทร์น้อย
สุดใจ ปาวิชัย
ลัดดา วงศ์พายัพกุล

Abstract

เมื่อนำใบสาบเสือ (Eupatorium odoratum Linn.) สาบแร้งสาบกา (Ageratum conyzoides Linn.) หนุมานประสานกาย (Schefflera leucantha Vig.) หนุมานนั่งแท่น (Jatropha podagrica Hook.f.) และบัวบก (Centella asiatica Urban) ที่อบแห้งมาสกัดด้วยน้ำ หรือ 95% เอทานอล และนำสารสกัดไปใช้แทนแคลเซียมในการทดสอบ PT และ APTT พบว่าสารสกัดด้วยน้ำของสมุนไพรทั้งห้าชนิด กระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวของพลาสมาวัวได้ดีกว่าสารสกัดด้วย 95% เอทานอล โดยที่ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร กระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวของพลาสมาวัวได้ดีที่สุดเมื่อตรวจวัดปริมาณแคลเซียมอิออน (Ca2+) ที่มีอยู่ในสารสกัดความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร พบว่าสารสกัดด้วยน้ำมีปริมาณ Ca2+ มากกว่าสารสกัดด้วย 95% เอทานอล สารสกัดด้วยน้ำของสาบเสือ สาบแร้งสาบกา หนุมานประสานกาย และบัวบก กระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวของพลาสมาวัวได้ดีใกล้เคียงกัน และดีกว่าการกระตุ้นด้วยสารสกัดด้วยน้ำของหนุมาน นั่งแท่น โดยฤทธ์ิการกระตุ้นดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปริมาณ Ca2+ ที่ตรวจพบในสารสกัดแต่ละชนิด เมื่อนำสารสกัด ด้วยน้ำของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิดไปเตรียมเป็นยาเตรียมรูปแบบเจลที่มี hydroxypropyl methycellulose (HPMC) เป็นสารก่อเจล และนำเจลไปทดสอบ PT พบว่าสามารถทำให้พลาสมาวัวเกิดการแข็งตัวได้ ดังนั้นสารสกัดด้วยน้ำของ สมุนไพรทั้ง 5 ชนิด อาจเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเตรียมเป็นตำรับยาเพื่อใช้ห้ามเลือดไหลต่อไป วารสารเทคนิค การแพทย์เชียงใหม่ 2551; 41: 15-26.

Article Details

How to Cite
เกษมราษฎร์ ว., จันทร์น้อย ส., ปาวิชัย ส., & วงศ์พายัพกุล ล. (2008). การประเมินประสิทธิภาพในการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด ของสารสกัดสมุนไพรไทย. Journal of Associated Medical Sciences, 41(1), 15. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bulletinAMS/article/view/60116
Section
Research Articles