การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสร้างแผนที่โรคออนไลน์ ในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผ่านแอปพลิเคชัน Google My Maps

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา คำพรหม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
  • กมลวรรณ สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

เยี่ยมบ้าน, แอปพลิเคชัน Google My Maps

บทคัดย่อ

บทนำ : การเยี่ยมบ้านมีความต้องการแผนที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปบ้านผู้ป่วย การนำ Google My Maps ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นแผนที่สามารถสร้างแผนที่หรือแก้ไขแผนที่ได้ จะช่วยให้เกิดความสะดวกและมีคุณภาพสำหรับวางแผนดูแลผู้ป่วยรายบุคคล

วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างแผนที่โรคออนไลน์ และศึกษาประสิทธิภาพ และความพึงพอใจในการใช้แผนที่โรคออนไลน์ ในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผ่านแอปพลิเคชัน Google My Maps

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) บุคลากรทางสุขภาพ จำนวน 2 คน (2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 27 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินประสิทธิภาพ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : พบว่า ภายหลังการใช้แผนที่โรคออนไลน์ ในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผ่านแอปพลิเคชัน Google My Maps บุคลากรทางสุขภาพ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  มีความพึงพอใจการใช้แผนที่โรคออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.75, S.D. = .45 และ M = 4.77, S.D. = .42 ตามลำดับ) และประสิทธิภาพการใช้แผนที่โรคออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.75, S.D. = .44 และ M = 4.72, S.D. = .45 ตามลำดับ)

สรุป : แผนที่โรคออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Google My Maps สามารถเพิ่มความสะดวกในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สะดวกต่อการวางแผนระยะเวลาในการลงปฏิบัติงาน ทราบถึงความชุกของโรคในภาพรวมของชุมชนส่งผลต่อการวิเคราะห์พฤติกรรมด้านสุขภาพและวิถีชีวิตของคนในชุมชน

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2565. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/ 1035820201005073556.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2566. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก http://ncdclinicplus.ddc.moph.go.th/pages/public/files/view.php?id=1673855257

ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัดNCD ClinicPlus ปี 2567. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://stn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2024

โปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ (JHCIS) ปี 2567. ข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ปีงบประมาณ 2567. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567].

Becker MH, Haefner DP, Kasl SV, Kirscht JP, Maiman LA, Rosenstock IM. (1997). Select psychosocial models and correlates of individual health-related behaviors. Medical Care. 15.27-46.

ณัฐสิรี นกแก้ว. 2563. คู่มือการสร้างแผนที่บนเว็บไซต์ด้วย Google Maps. สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปกร. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://anyflip.com/lqsbb/sqou/basic#google_vignette

วัชราภรณ์ ตาบูรี และคณะ. ต้นแบบระบบภูมิสารสนเทศออนไลน์เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุในชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(1): 59-65.

ชนม์ธนัช สุวรรณ, รัชฎาภรณ์ ทองเป็น. การจัดทำฐานข้อมูลประชากรผู้สูงอายุด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: กรณีเทศบาลตำบลนำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารบัณฑิตวิจัย 2562; 10: 219-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
คำพรหม ส, สุวรรณ ก. การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสร้างแผนที่โรคออนไลน์ ในการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผ่านแอปพลิเคชัน Google My Maps. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 30 เมษายน 2025];8(2):134-46. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/276287