ลักษณะทางคลินิกของการแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens-Johnson Syndrome และ Toxic Epidermal Necrolysis ในผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นวภา พานิช กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การแพ้ยารุนแรง

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะแพ้ยารุนแรงกลุ่ม Stevens-Johnson syndrome (SJS) และ Toxic epidermal necrolysis (TEN)  เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่หากเกิดขึ้นอาจมีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นการศึกษาถึงลักษณะทางคลินิกของภาวะแพ้ยารุนแรงกลุ่ม Stevens-Johnson syndrome (SJS) และ Toxic epidermal necrolysis (TEN) ในด้านต่างๆ จึงมีความสำคัญ ที่จะช่วยให้วินิจฉัยและรักษาได้รวดเร็วทันท่วงที รวมถึงการป้องกันการเกิดภาวะแพ้ยาดังกล่าว

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน อาการของผู้ป่วย รวมถึงผลการรักษา และภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยที่เกิดการแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens-Johnson syndrome และ Toxic epidermal necrolysis 

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลการศึกษาผู้ป่วยโรค Stevens-Johnson syndrome และ Toxic epidermal necrolysis ในผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Stevens-Johnson syndrome  จำนวน 30 ราย (ร้อยละ 93.75) และ Toxic epidermal necrolysis จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 6.25) โดยยาที่เป็นสาเหตุของการแพ้ยารุนแรง ชนิด Stevens-Johnson syndrome  และ Toxic epidermal necrolysis คือ กลุ่มยากันชัก ร้อยละ 21.9 โดยยากันชักที่เป็นสาเหตุได้แก่ phenytoin ร้อยละ 15.6 lamotrigine ร้อยละ 3.1 carbamazepine ร้อยละ 3.1 ยา allopurinol ร้อยละ 18.8 กลุ่มยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 15.6 กลุ่มยา NSAID ร้อยละ 12.5 และกลุ่มยา sulfa group ร้อยละ 12.5 ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาเกิดผื่นหลังได้ยาเฉลี่ย 13.72 ± 10.33 วัน  โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย Stevens-Johnson syndrome  และ Toxic epidermal necrolysis พบว่ามีภาวะแทรกซ้อน คือ ภาวะไตวายร้อยละ 15.6  ภาวะติดเชื้อร้อยละ 15.6 โดยเป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 6.3 และการติดเชื้อในกระแสเลือดร้อยละ 6.3 และในผู้ป่วยทั้งหมดพบอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 6.3

สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉันเป็น Stevens-Johnson syndrome  และ Toxic epidermal necrolysis ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชพบว่า ยาที่เป็นสาเหตุได้บ่อยคือ กลุ่มยากันชัก ยา allopurinol กลุ่มยาปฏิชีวนะ กลุ่มยาซัลฟา และกลุ่มยา NSAID ดังนั้นจึงควรมีความตระหนักและใช้ยาในกลุ่มเหล่านี้ให้สมเหตุผล และมีการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแพ้ยารุนแรง

References

Tartarone A, Lerose R.Stevens-Johnson syndrome and toxic Epidermal necrolysis:what do We know? Ther Drug Monit 2010;32(6):669-72.

Harr T,French L.Toxic epidermal necrolysis and Stevens -Johnson syndrome. Orphanet J Rare Dis2010;5:39.

ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ. สารพันธุกรรมกับการเกิดภาวะแพ้ยารุนแรง SJS/TENในคนไทย.จดหมายข่าวศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ฉบับที่ 5; 2554

Tassaneeyakul W, Jantararoung T,Chen P, LinPY, Tiamkao S, Khunarkornsiri U, et al. Strong association between HLA-B*5801 and allopurinol-induced Stevens-Johnson syndrome and toxic epidermal necrolysis in a Thai population. Epilepsia 2010;51:926-30.

Phillips EJ,Chung WH, Mockenhaupt M,Roujeau JC, Mallal SA. Drug hypersentivity: pharmaco-genetics and clinical syndromes. J Allergy ClinImmunol 2011;127(3 Suppl):S60-6

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (15 มีนาคม พ.ศ. 2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษที่ 98 ง, หน้า 19

จุลพรรธน์ อินทรศัพท์. Steven Johnson Syndrome and Toxic Epidermal Necrolysis. Emergency medicine โครงการตำรา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์ ; 2563. หน้า 706-11

Schneck J, Fagot JP, Sekula P, Sassolas B, Roujeau JC, Mockenhaupt M.Effect of treatments on the mortality of Steven-Johnson syndrome and toxic epidermal necrolysis: a retrospective study on patients included in the prospective EuroSCAR Study. J Am Acad Dermatol 2008;58:33-40

วรรณจรัส รุ่งพิสุทธิพงษ์, ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย, ทิฆัมพร คมกฤส. สาเหตุและผลการรักษาผู้ป่วย Stevens-Johnson syndrome(SJS),Toxic epidermal necrolysis (TEN) และ SJS – TEN overlap ในวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล.วชิรเวชสาร2552;53(1):69-75.

Saksit N, Suttisai S, Piriyachananusorn N, Tiwong P, Tassaneeyakul W. Causative Drugs and Pattern of Severe Cutaneous Adverse Drug Reactions in Phrae Hospital. Thai J Phamacol 2016; Vol 38: No.1

Kannenberg SM, Jordaan HF, Koegelenberg CF, Von Groote-Bidlingmaier F, Visser WI. Toxic epidermal necrolysis and Stevens-Johnson syndrome in South Africa: a 3-year prospective study. QJM. 2012 Sep;105(9):839-46.

Todd G. Adverse cutaneous drug eruptions and HIV: a clinician’s global perspective. DermatolClin. 2006;24:459-72.

Limkobpaiboon S, PanomvannaNa Ayudhya D, Dhana N, Jongjarearnprasert K. Prevalence and mortality rate of severe cutaneous adverse reactions at Siriraj Hospital. Chulalongkorn Medical Journal 2010; 467-77

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
พานิช น. ลักษณะทางคลินิกของการแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens-Johnson Syndrome และ Toxic Epidermal Necrolysis ในผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 1 พฤษภาคม 2025];8(2):120-33. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/276286