อัตราการเสียชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกคลอดก่อนกำหนดที่มี ภาวะหายใจลำบากและรักษาโดยให้สารลดแรงตึงผิว โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นันท์วดี พรหมบังเกิด กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ทารกคลอดก่อนกำหนด, ภาวะหายใจลำบาก การให้สารลดแรงตึงผิว

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะหายใจลำบากในทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดจากการขาดสารลดแรงตึงผิวจากโครงสร้างปอดที่มีการสร้างไม่สมบูรณ์ การให้สารลดแรงตึงผิวทำให้ผลการรักษาดีขึ้นและลดความเสี่ยงการเสียชีวิตของทารก

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิต ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตและผลของการใช้สารลดแรงตึงผิวในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบาก

วัสดุและวิธีการศึกษา : ศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง โดยรวบรวมเวชระเบียนทารกคลอดก่อนกำหนดที่วินิจฉัยเป็นภาวะหายใจลำบากและรักษาโดยใช้สารลดแรงตึงผิว ที่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2566

ผลการศึกษา : ทารกคลอดก่อนกำหนดจำนวน 171 ราย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 21.63  น้ำหนักทารกแรกคลอดเฉลี่ย 1395.90±549.81 กรัม และอายุครรภ์เฉลี่ย 29.69±3.01 สัปดาห์ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (ร้อยละ 67.57) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 41.89±35.41 วัน 

สรุป : อัตราการเสียชีวิตของทารกเท่ากับร้อยละ 21.63 โดยปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ น้ำหนักของทารกแรกคลอดน้อยกว่า 1000 กรัม และปัจจัยที่ลดโอกาสการเสียชีวิตของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่  การได้รับสารลดแรงตึงผิวหลังทารกคลอดภายใน 2 ชั่วโมง

References

สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. Respiratory distress and respiratory distress syndrome.ใน: วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์ กาณจนพัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์, บรรณาธิการ.ปัญหาทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2550.

Condò V, Cipriani S, Colnaghi M, Bellù R, Zanini R, Bulfoni C, et al. Neonatal respiratory distress syndrome: are risk factors the same in preterm and term infants? J Matern Fetal Neonatal Med 2017;30:1267–72.

Jobe AH. 158 - Pathophysiology of Respiratory Distress Syndrome. In: Polin RA, Abman SH, Rowitch DH, Benitz WE, Fox WW, editors. Fetal and Neonatal Physiology (Fifth Edition): Elsevier; 2017.p.1604-19.e2.

Sweet DG, Carnielli VP, Greisen G, Hallman M, Klebermass-Schrehof K, Ozek E, et al. European consensus guidelines on the management of respiratory distress syndrome: 2022 update. Neonatology. 2023;120:3-23.

สันติ ปุณณะหิตานนท์. การรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิวในปอด Update in surfactant replacement therapy. ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, บรรณาธิการ. Highlights in neonatal problems. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์; 2561:176–91.

Chotigreat U, Ratchatanorravut S, Kanjanapattanakuli W . Compare severity of bronchopulmonary dysplasia in neonates with respiratory distress syndrome treated with surfactant to without surfactant. J Med Assoc Thai. 2011;94:35-40.

Stevens TP, Harrington EW, Blennow M, Soll RF. Early surfactant administration with brief ventilation vs. selective surfactant and continued mechanical ventilation for preterm infants with or at risk for respiratory distress syndrome. Cochrane Database Syst Rev. 2007 Oct 17;2007(4):CD003063. doi: 10.1002/14651858.CD003063.

Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc.,180.

Wang H, Gao X, Liu C, Yan C, Lin X, Yang C, et al. Morbidity and mortality of neonatal respiratory failure in China: surfactant treatment in very immature infants. Pediatrics. 2012 Mar;129(3):e731-40

นพวรรณ พงษ์โสภา. ผลการรักษาภาวะ Respiratory distress syndrome โดยใช้ Surfactant ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต11 2558;29:505-513.

วไลพร โรจน์สง่า. ผลของการใช้ Surfactant ในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น Respiratory distress syndrome ของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2561;26:57-63.

คัทลียา อินทะยศ, พรชนก แสนละมุล, หัทยา อวดสุข, ศรัญญา ไชยชมพู, สุนทรีย์ พัวธรรม. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะหายใจลำบากในโรงพยาบาลลำปาง.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562;28(1):108–16.

จุไรรัตน์ ตรีวัฒนาวงศ์. ผลการรักษาภาวะ Respiratory distress syndrome โดยใช้ Surfactant ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5:136-143.

Forsblad K, Kallen K, Marsal K, Hellstrom-Westa - sL. Apgar score predicts short term outcomes in infants born at 25 gestational weeks. Acta Paediatr. 2007;96:166-71.

Bahadue FL, Soll R. Early versus delayed selective surfactant treatment for neonatal respiratory distress syndrome. Cochrane Database of Syst Rev 2012; 11: CD 001456.

Polin RA, Carlo WA, Committee on fetus and Newborn. Surfactant Replacement Therapy for Preterm and Term Neonate With Respiratory Distress. Pediatrics. 2014;133(1):156-63.

Wisetwoharn P, Aswakul O. Respiratory distress in early premature newborns with suboptimal antenatal steroid. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology. 2019;27(4);195-202.

Lagoski M, Hamvas A, Wambach JA. Respiratory Distress Syndrome in the Neonate. In: Martin RJ, Fanaroff AA, Walsh MC. Fanaroff and Martin’s Neonatal-Perinatal Medicine. 11Th ed. Philadelphia: Elsevier Inc; 2020. P.1159-73.

Doyle LW, Kitchen WH, Ford GW, Rickards AL, Kelly EA. Antenatal steroid therapy and 5-year outcome of extremely low birth weight infants. Obstet Gynecol 1989;73:743-6.

อรุณี ประพฤติตรง. ผลลัพธ์ของการให้ surfactant ด้วยวิธี INSURE เทียบกับการให้ surfactant วิธีเดิมในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีปัญหา respiratory distress syndrome. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4:177-87.

Vongbhavit K, Prommalikit O, Panburana J. Causative Organisms in Neonatal Sepsis in Neonatal Intensive Care Unit of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center. J Med Health Sci [Internet]. 2015 Jun. 3 [cited 2024 Sep. 9];22(1):40-8. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/58638.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
พรหมบังเกิด น. อัตราการเสียชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกคลอดก่อนกำหนดที่มี ภาวะหายใจลำบากและรักษาโดยให้สารลดแรงตึงผิว โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 30 เมษายน 2025];8(2):103-19. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/276285