ผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือด ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2566

ผู้แต่ง

  • รุ่งวิทย์ ตัญจพัฒน์กุล กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, วันนอนโรงพยาบาล, สายระบายเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ : ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีทั้งแบบใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือด การไม่ใส่สายระบายเลือด    มีแนวโน้มที่ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็วขึ้น แต่ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดแผลแยก แผลซึมจากเลือดที่ค้างในข้อเข่า จึงทำให้เกิดเป็นที่มาของการศึกษานี้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 80 ราย โดยศึกษาผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ประเมินจากระยะเวลานอนโรงพยาบาล อาการปวดหลังการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนของแผลหลังผ่าตัด  โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่าง

ผลการศึกษา : จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 ราย โดยเป็นกลุ่มที่ใส่สายและไม่ใส่สายระบายเลือดหลังการผ่าตัดจำนวน 38 และ 42 รายตามลำดับ พบว่า กลุ่มที่ไม่ใส่สายระบายเลือด มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลและอาการปวดที่น้อยกว่ากลุ่มที่ใส่สายอย่างมีนัยสำคัญ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของกลุ่มที่ใส่สายและไม่ใส่สาย โดยเฉลี่ย คือ 5.34 และ 4.64 วัน ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  ส่วนอาการปวดในวันที่ 2  กลุ่มที่ ไม่ใส่สายมีอาการปวดน้อยกว่าอีกกลุ่ม คือ 1.64 และ 2.11 ตามลำดับ  (p=0.036) อาการปวดในวันที่ 3 กลุ่มที่ ไม่ใส่สายมีอาการปวดน้อยกว่าอีกกลุ่ม คือ 1.31 และ 1.61 ตามลำดับ  (p=0.040)  การเกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลหลังการผ่าตัด ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

สรุป : การไม่ใส่สายระบายเลือดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม มีผลต่อระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่น้อยลงและอาการปวดในวันที่ 2 และ 3 น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ  การติดเชื้อและการเกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

References

ราชแพทย์วิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย; 2554

Ugalmugle S, Swian R. Total Knee Replacement Market Size. Global market insights; 2020(1): 850-54.

Swangnade N, Binhosen V. Effects of Clinical Practice Guideline Implementation for Patients Undergoing Total Knee Arthroplasty. Journal of nursing and health sciences 2019; 13(2): 101-12.

Mutsuzaki H, Ikeda K. Intra-articular injection of tranexamic acid via a drain plus drain-clamping to reduce blood loss in cementless total knee arthroplasty. J Orthop Surg Res 2012; 7: 32.

Alshryda S, Mason J, Sarda P, Nargol A, Cooke N, Ahmad w, et al. Topical (intra-articular) tranexamic acid reduces blood loss and transfusion rates following total hip replacement: a randomized controlled trial (TRANX-H). J Bone Joint Surg Am 2013; 95(21): 1969-74.

Martin A, Prenn M, Spiegel T, Sukopp C, von Strempel A. Relevance of wound drainage in total knee arthroplasty-a prospective comparative study. Z Orthop Ihre Grenzgeb 2004; 142(1): 46-50.

Kim YH, Cho SH, Kim RS. Drainage versus nondrainage in simultaneous bilateral total knee arthroplasties. Clin Orthop Relat Res 1998; (347): 188-93.

Berman AT, Fabiano D, Bosacco SJ, Weiss AA. Comparison between intermittent (spring-loaded) and continuous closed suction drainage of orthopedic wounds: a controlled clinical trial. Orthopedics 1990; 13(3): 309-14.

Jones AP, Harrison M, Hui A. Comparison of autologous transfusion drains versus no drain in total knee arthroplasty. ActaOrthop Belg 2007; 73(3): 377-85.

Parker MJ, Roberts CP, Hay D. Closed suction drainage for hip and knee arthroplasty. A meta-analysis. J Bone Joint Surg Am 2004; 86(6): 1146-52.

Cao L, Ablimit N, Mamtimin A, Zhang KY, Li GQ, Li G, et al. Comparison of no drain or with a drain after unilateral total knee arthroplasty: a prospective randomized controlled trial. Zhonghua Wai Ke Za Zhi 2009; 47(18):1390-3.

Wolfe SW, Hotchkiss RN, Pederson WC, Kozin SH (Eds.). Green's Operative Hand Surgery (7th ed.). Elsevier, 2017: p 550-4.

Yamane T. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York : Harper and Row, 1976: 876-912.

van Rijckevorsel VAJIM, de Jong L, Klem TMAL, Kuijper TM, Roukema GR. Drain versus no drain after hip hemi-arthroplasty for femoral neck fractures; differences in clinical outcomes. Eur J Trauma Emerg Surg. 2022 Jun;48(3):1799-1805.

Boissonneault, AR., Schenker Ms. Impact of closed suction drainage after surgical fixation of acetabular fractures.Archives of orthopaedic and trauma surgery 2019; 139(7), 907–12.

Akinyoola AL, Odunsi A, Yusu MB. Use of wound drains following open reduction and internal fixation of femoral shaft fractures. J Wound Care. 2012 Jun;21(6):279-80, 282-4.

ศิวะ ลูกอินทร์, ผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกข้อมือหัก ในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ, Sisaket Journal of Research and Health Development, 2023; 2(2) : 18-25.

Muoghalu, O. N., Eyichukwu, G. O., Iyidobi, E., Anyaehie, U. E., Madu, K. A., & Okwesili, I. C. A comparison of the use and non-use of closed suction wound drainage in open reduction and internal fixation of femoral shaft fractures.International orthopaedics, 2019; 43(9): 2003–8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
ตัญจพัฒน์กุล ร. ผลของการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือด ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2566. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 30 เมษายน 2025];8(2):92-102. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/276284