ผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิก NCD High Risk โรงพยาบาลปาดังเบซาร์
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวาน, การพัฒนา, การบริบาลเภสัชกรรมบทคัดย่อ
บทนำ : โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจนส่งผลเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เภสัชกรมีบทบาทที่สำคัญในด้านการใช้ยาของผู้ป่วย โดยเฉพาะการตรวจสอบความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโดย ประเมินจาก 2 เกณฑ์ ร้อยละความร่วมมือจากการนับเม็ดยาที่เหลือและแบบประเมินการรับประทานยาสม่ำเสมอ (MMAS)
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลของระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือด ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ความรู้ของผู้ป่วยของโรคเบาหวาน การใช้ยาก่อนและหลังการให้การบริบาลเภสัชกรรมต่อปัญหาจากการใช้ยา Drug Related Problems (DRPs) วิธีแก้ปัญหาจากการใช้ยา รวมถึงศึกษาความรู้เรื่องโรคเบาหวานและด้านการใช้ยา และ ศึกษาความพึงพอใจเภสัชกรในการให้คำปรึกษาหลังการบริบาลเภสัชกรรม
วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 89 คน จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2567
ผลการศึกษา : พบว่าระดับค่าเฉลี่ย FBS ก่อนการวิจัยมีระดับเฉลี่ยที่ 218.40±8.46 และหลังการวิจัยมีค่าเฉลี่ยที่ลดลง เป็น 142±5.71 เมื่อเปรียบเทียบ FBS ก่อนการวิจัย และหลังการวิจัยพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 เช่นเดียวกับ HbA1C ก่อนการวิจัยมีระดับเฉลี่ยที่ 9.65±1.7 หลังการวิจัยมีค่าเฉลี่ยที่ลดลง เป็น 8.14±1.67 และมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p< 0.05 ความร่วมมือในการใช้ยาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 คะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวานและด้านยาของผู้ป่วยก่อนและหลังสิ้นสุดการวิจัยไม่แตกต่างกัน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.90±1.07, 3.80±0.96 ตามลำดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.39±1.06
สรุป : ผลของการบริบาลเภสัชกรรมทำให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยในเลือดที่ลดลง ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาที่สูงขึ้น คะแนนความรู้ทั่วไปของโรคเบาหวานและด้านยาไม่แตกต่างกัน ความพึงพอใจหลังการรับบริการอยู่ในระดับดี
References
การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี.มหาวิทยาลัยมหิดล. 2564; [เข้าถึงเมื่อ12 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://online.fliphtml5.com/bcbgj/znee/#p=1.
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ.แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย (พ.ศ 2566-2570): 1-108.
อรทัย เขียวเจริญ, ชัชชน ประเสริฐวรกุล, ธันวา ขัติยศ, เฌอมาณัฎฐ์ ศรีวงค์ชัย, ทยาภา ศรีศิริอนันต์, พงษ์ลัดดา หล่ำพู่, และคณะ. ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกรายโรคจากข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลจากการศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่ 1. HISPA Compendium 2023;1(7):100-20.
ชื่นจิตร กองแก้ว.พฤติกรรมความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย: การวิพากษ์คำจำกัดความ. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554;6(4):299-302.
Ichiki Y, Kobayashi D, Kubota T, Ozono S, Murakami A, Yamakawa Y, et al. Effect of patient education for diabetic outpatients by a hospital pharmacist: a retrospective study. Yakugaku Zasshi 2016;(136):1667-74.
สุนิดา สดากร, วรนุช แสงเจริญ, โพยม วงศ์ภูวรักษ์. ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; ฉบับพิเศษ:116-21.
ศุภกิจ วงค์วิวัฒนนุกิจ, สาริณี กฤติยานันท์, อัญชลี วรรณภิญโญ. การสร้างและทดสอบความตรงของ เครื่องมือเพื่อใช้วัดความรู้ทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวาน. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences (TJPS) 2004;28:17-29.
ปรเมษฐ์ พรหมพินิจ, วุธิพงศ์ ภักดีกุล, วรินทร์มาศ เกษทองมา. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลส่องดาว จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(1):538-45.
Wabe NT, et al. Medication Adherence in Diabetes Mellitus and Self-management Practices among Type2 Diabetes with Types 2 Diabetes: A Retrospective cohort study. Diabet Med 2011;3(9):418-23.
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, จณิสตา อุบลสาร, ณัฐนันท์ คำจันทร์, ปนัดดานามไพร. ผลของการให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยาที่บ้านต่อความร่วมมือในการใช้ยาและความปลอดภัยจากการยาสูงอายุชุมชนดอนเวียงจันทร์.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;1(1):1-14.
อนัญญา สองเมือง, ธนัฎชา สองเมือง, นันทิกร จำปาสา.ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยการบริบาลเภสัชกรรมแบบเชิงรุก.ศรีนครินทร์เวชสาร 2560;32(3):236-43.
นลินี พูลทรัพย์, ปัญญา อุ่ยประเสริฐ.ผลของการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมต่อจํานวนปัญหาจากการใช้ยาและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร 2548;10(1):10-6.
วิกานดา เวชอุบล, พลอยกาญจน์ เกียรติวัฒน์, ทัดตา ศรีบุญเรือง.ผลของการให้บริบาลเภสัชกรรมต่อปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่2. Thai journal of Pharmacy Practice 2562;13(1):127-41.
ศศิธร ศิริวราศัย. การบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวาน วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต.มหาวิทยาลัยบูรพา 2545;1-25.
สมมนัส มนัสไพบูลย์, ผกามาศ ไมตรีมิตร, ศราวุธ อู่พุฒินันท์. ผลการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการเสริมสร้างอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์วัดไร่ขิง.2560.ว. เภสัชศาสตร์อีสาน 2560;13(1):37-51.
ปิยะฉัตร ธรรมแก้ว. การพัฒนาความร่วมมือในการใช้ยาาของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลเพ็ญ[อินเทอร์เน็ต]. 2563; [เข้าถึงเมื่อ12 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.udpho.org/openaccess/control/download.php?id=MjY=.
Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological Review1977; 84(1):191-215.
วรนัน คล้ายหงษ์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2016;24:65-75.
Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and health belief model. Health Education Quarterly1988;15(2):75-138.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น