ปัจจัยทำนายของการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขาในผู้ป่วยแผลเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนายทางคลินิก, แผลเท้าเบาหวาน, ตัดนิ้วเท้าหรือขา, สูญเสียอวัยวะบทคัดย่อ
บทนำ : เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การดูแลรักษาเบาหวานมุ่งเน้นที่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการเกิดแผลที่เท้า ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี เป็นสาเหตุของแผลเท้าเบาหวานติดเชื้อ นำไปสู่การลุกลามจนต้องตัดอวัยวะหรือเสียชีวิต
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอาการทางคลินิกของผู้ป่วยแผลเท้าเบาหวาน ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำนายโอกาสของการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา
วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพยากรณ์การวินิจฉัยแบบย้อนหลัง (Retrospective prognostic study) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นแผลเท้าเบาหวานและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลท่าศาลา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2566 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน รวบรวมปัจจัยทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ นำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาปัจจัยที่ทำนายการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยแผลเท้าเบาหวานติดเชื้อจำนวน 235 ราย เป็นผู้ป่วยที่ถูกตัดนิ้วเท้าหรือขาจำนวน 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.6 จากการศึกษาพบว่าปัจจัย โรคประจำตัวร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (p=0.024) ไขมันในเลือดสูง (p=0.016) ตรวจพบเท้าผิดรูปแบบ claw toe (p=0.043) เท้าผิดรูปแบบ hallux valgus (p=<0.001) วัดค่า ABI <0.8 (p<0.001) พบมี osteomyelitis (p<0.001) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการมี WBC >15,000 (p<0.001) ระดับ hemoglobin ≤10 (p=0.003) ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) ≥9 (p=0.045) มีผลต่อการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขา โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป : ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัจจัยทางคลินิก คือ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เท้าผิดรูป ABI <0.8, มี osteomyelitis, WBC >15,000, hemoglobin ≤10, HbA1c ≥9 อาจนำไปใช้พยากรณ์โอกาสของการถูกตัดนิ้วเท้าหรือขาในผู้ป่วยแผลเท้าเบาหวานได้ ซึ่งจะช่วยจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของการรักษา รวมถึงการให้ข้อมูลคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติได้
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. รายงานสถานการณ์โรค NCDs 2563.
Boulton AJ, Vilkeite L, Ragnarson-Tennall G, Apelqvist J. The global burden of diabetic foot disease. Lancet 2005;366:1719-24.
Namvongprom A, Pakdevong N. Foot ulcers and factors relating to foot ulcers in person with type 2 diabetes. Thai Journal of Nursing Council 2010;25(3):51-63.
Diabetes Association of Thailand. Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. Bangkok: Romyen media.
สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2560.
Szabad G. Diabetic foot syndrome. Orvosi hetilap 2011;152(29):1171-7.
Junrungsee S, Kosachunhanun N, Wongthanee A, Rerkasem K. History of foot ulcers increases mortality among patients with diabetes in Northern Thailand. Diabetic Medicine 2011;28(5):608-11.
ณิปไทย ศีลาเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลเท้าเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42(3):85-95.
Lipsky BA, Berendt AR, Cornia PB, Pile JC, Peters EJ, Armstrong DG, et al. Infectious Diseases Society of America clinical practice guidelines for the diagnosis and treatment of diabetic foot infections. Clin Infect Dis 2012;54:132-73.
Brolmann FE, Ubbink DT, Nelson EA, Munte K, van der Horst CM, Vermeulen H. Evidence based decisions for local and systemic wound care. Br J Surg 2012;99(9):1172-83.
Most RS, Sinnock P. The epidemiology of lower extremity amputations in diabetic individuals. Diabetes Care 1983;6:87-91.
Tongson L, Habawel DL, Evangelista R, Tan JL. Hyperbaric oxygen therapy as adjunctive treatment for diabetic foot ulcers. Wounds International 2013;4(4):8-12.
Zhao D, Luo S, Xu W, Hu J, Lin S, Wang N. Efficacy and safety of hyperbaric oxygen therapy used in patients with diabetic foot: a meta-analysis of randomized clinical trials. Clinical Therapeutics 2017;39(10):2088-94.
Ugwa E, Adeleye O, Gezawa I, Okpe I, Enamino M, Ezeani. Predictors of lower extremity amputation in patients with diabetic foot ulcer: findings from MEDFUN, a multicenter observational study. J Foot Ankle Res 2019;12-34.
Kerdsin W, Meepontong N, Ladee S. Factors related to amputation of diabetic foot in Nongbuadaeng hospital, Chaiyaphum Province. Chaiyaphum medical journal 2020;40(2):56-68.
Pickwell K, Siersma V, Kars M, Apelqvist J, Bakker K, Edmonds M, et al. Predictors of lower-extremity amputation in patients with an infected diabetic foot ulcer. Diabetes Care 2015;38:852-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น