ผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักอันเนื่องมาจาก ภยันตรายชนิดไม่รุนแรงในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การฟื้นฟูระยะกลาง, ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายไม่รุนแรง, ผลลัพธ์การฟื้นฟูบทคัดย่อ
บทนำ : ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ส่งผลให้อุบัติการณ์ของภาวะกระดูกสะโพกหักที่สัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุนสูงขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในเวลาที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น จากความสำคัญนี้ Service plan สาขาการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง จึงมีนโยบายเพิ่มกลุ่มผู้ป่วยสะโพกหักที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอันเนื่องมาจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรง เข้ามาเป็นกลุ่มโรคใหม่ที่ควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางด้วย จึงควรมีการศึกษาผลลัพธ์การฟื้นฟูในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อใช้ประกอบการบริหารจัดการและพัฒนาระบบการดูแลระยะกลางให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ : ศึกษาสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิผลและประสิทธิภาพการฟื้นฟู
วัสดุและวิธีการศึกษา : ศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยสะโพกหักที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอันเนื่องมาจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรงที่ได้รับการฟื้นฟูระยะกลาง ตั้งแต่พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยการสืบค้นเวชระเบียน บันทึกข้อมูลพื้นฐาน คะแนนบาร์เธล (BI) และคะแนนความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย (CAS) แรกรับและสิ้นสุด ภาวะแทรกซ้อน คำนวณสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิผลและประสิทธิภาพการฟื้นฟู
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 60 ราย เป็นหญิง 46 ราย ชาย 16 ราย มีอายุเฉลี่ย 76.16 (SD 9.38) ปี ร้อยละ 97 มีสาเหตุจากการล้ม ร้อยละ 50 ตำแหน่งหักเกิดที่บริเวณคอสะโพก ทุกรายได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยพบค่าเฉลี่ยสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.38 (SD 3.58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<0.001) ประสิทธิผลการฟื้นฟูมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 77.57 (SD 27.22) และค่าประสิทธิภาพการฟื้นฟูมีค่าเฉลี่ย 2.54 (SD 2.46) คะแนนความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 3.90 (SD 1.54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<0.001) มีภาวะแทรกซ้อน 11 ราย (ร้อยละ18) ส่วนใหญ่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มีข้อสะโพกเคลื่อนหลุด 2 ราย (ร้อยละ3.3) มีการหกล้มซ้ำ 3 ราย (ร้อยละ5) ทั้งนี้ไม่พบผู้ป่วยกระดูกหักซ้ำ
สรุป : ผู้ป่วยสะโพกหักที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอันเนื่องมาจากภยันตรายชนิดไม่รุนแรงที่ได้รับการฟื้นฟูระยะกลางมีคะแนนบาร์เธลเมื่อจำหน่ายมากกว่าคะแนนบาร์เธลเมื่อแรกรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
The Ministry of Public Health. Intermediate care service plan [Internet]. 2560. [Cited 2017 November 20]. Available from URL: http://www.snmri.go.th/snmri/download/train/ pm/Intermediate_1.pdf.
Committee of Subacute Rehabilitation Care Project. The Thai Rehabilitation Medicine Association. Development of subacute rehabilitation program and lesson learned from the Ministry of Public Health. [Internet]. 2018. [Cited 2019 June 19]. Available from URL: http://rehabmed.or.th/files/book.pdf
Dajpratham P, Meenaphant R, Junthon P, Pianmanakij S, Jantharakasamjit S, Yuwan A. The inter-rater reliability of Barthel Index (Thai version) in stroke patients. J Thai Rehabil Med 2006;16:1-9.
Department of Health, Ministry of Public Health. Elements of district health care implementation for the elderly. [Internet]. 2014[Cited 2019 June 3]. Available from URL: https://www.udo.moph.go.th/thepost/upload/UX4ctZPFMRiXzczWnqcMqylj5O/EgzvAFiPptt9hEgeHvmTU5Xuwo.doc.
Pattanasuwanna P. Outcomes of Intermediate Phase Post-Stroke Inpatient Rehabilitation in Community Hospital. ASEAN J Rehabil Med 2019;29(1): 8-13.
Sing CW, Lin TC, Bartholomew S, Bell JS, Bennett C, Beyene K, et al. Global epidemiology of hip fractures: a study protocol using a common analytical platform among multiple countries. BMJ Open. 2021 Jul 1;11(7):e047258.
Suksrisai B, Linhavong J, Manonom S, Manorangsan S. Prevalence and factors affecting first and recurrent hip fracture in the elderly: A retrospective study from inpatients at Thammasat university hospital. Thammasat Medical Journal. 2020 Dec 28;20(4):275–85.
Vaseenon T, Luevitoonvechkij S, Wongtriratanachai P, Rojanasthien S. Long-term mortality after osteoporotic hip fracture in Chiang Mai, Thailand. Journal of Clinical Densitometry. 2010 Jan;13(1):63–7.
Wade D, Collin C. The Barthel ADL Index: a standard measure of physical disability? Int Disabil Stud 1998;10:64-7.
Kristensen MT, Andersen L, Bech-Jensen R, Moos M, Hovmand B, Ekdahl C, et al. High intertester-reliability of the cumulated Ambulation Score for the evaluation of basic mobility in patients with hip fracture. Clinical Rehabilitation 2009; 23: 1116-23
Pattanasuwanna P, Kuptniratsaikul V. Inpatient rehabilitation outcomes in patients with stroke at Thailand’s largest tertiary referral center: a 5-year retrospective study. J Sci Res Stud. 2017;4:208-16.
Tongchai A, Arayathanitkul K, Soankwan C, Emarat N, Chitaree R, et al. Normalized Gain: a new assessment method by using pretest and post-test scores[Internet].n.d.[Cited 2018 October 19]. Available from URL: http://penthai.sc.mahidol.ac.th/html/articles/ normalized_gain.pdf.
Shah S, Vanclay F, Cooper B. Effi ciency, effectiveness, and duration of stroke rehabilitation. Stroke. 1990;21:241-6.
Johnell O, Kanis JA. An estimate of worldwide prevalence and disability associated with osteoporosis fracture. Osteoporos Int 2006;17(12):1726-33.
Tinetti ME. Clinical practice. Preventing fall in elderly persons. N Engl J Med 2003;348(1):42-9. doi: 10.1056/NEJMcp020719.
Kim SJ, Park HS, Lee DW. Outcome of nonoperative treatment for hip fractures in elderly patients: A systematic review of recent literature. Journal of orthopaedic surgery (Hong Kong) Jan-apr 2020;28(2):2309499020936848.
Simunovic N, Devereaux PJ, Sprague S, et al. Effect of early surgery after hip fracture on mortality and complication: systematic review and meta-analysis. 2010;182(15):1609-16.
Klestil T, Order C, Stotter C, et al. Impact of timing of surgery in elderly hip fracture patients; a systematic review and meta-analysis. Sci Rep. Sep 17 2018;8(1):13933.
Uthaekul A, Sawayawisuth K, Pitiruagsit L, Ingkatacha O, Polyotha K. The effects of intermediate care rehabilitation programs on the ability of hip fracture patients to perform daily activities with remote follow-up. Journal of Social Science and Cultural 2024;8(1):186-95.
Roobsoong A, Permyao J, Chantiratikul S. Clinical outcomes of peritrochanteric hip fracture in the intermediate postoperative care project between the regional and district hospitals in chiang Rai province: preliminary comparative results. Journal of Health Systems Research 2020;14(1):88-100.
Tongsephee R. The outcomes of intermediate Phase Rehabilitation in Thasala Hospital. Maharaj Nakhon Si Thammarat medical Journal 2020;4(1):1-10.
Carpintero P, Caeiro JR, Carpintero R, Morales A, Silva S, Mesa M. Complication of Hip fracture: a review. World J orthop 2014;5(4):402-11
Pil Kl, Neumann F, Meisner W, Schano W, Vavrovsky GV, Van der cammen TJ. Predictors Of falls in elderly people during rehabilitation after hip fracture-who is a risk of a second one. Z Gerontal Geriatr 2003 Feb;36(1):16-22.
Praveen AD, Aspelund T, Ferguson SJ, Sigurosson S, Guonason V, Palsson H, et al. Refracture And mortality risk in the elderly with osteoporotic fracture: the AGES-Reykjavik study. Osteoporos Int 2024;35:1231-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น