การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น นอกโรงพยาบาล โดยหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
เวลาที่ได้รับแจ้งเหตุจนถึงออกปฏิบัติการ, หัวใจหยุดเต้น, การฟื้นคืนชีพบทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital cardiac arrest, OHCA) เป็นปัญหาด้านสุขภาพสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพ (Return of spontaneous circulation, ROSC) ในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ของหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดที่หัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 ถึง วันที่ 30 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2566
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 151 ราย มีผู้ป่วยฟื้นคืนชีพหลังหัวใจหยุดเต้น จำนวน 39 คน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ ได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับแจ้งเหตุจนถึงออกปฏิบัติการ ภายในเวลา 2 นาที (AOR = 3.01, 95% CI = 1.05-8.64, P = 0.04) ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจแรกรับสามารถกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (AOR = 9.29, 95% CI = 1.53-56.19, P = 0.0159) และระยะเวลารวมในการช่วยฟื้นคืนชีพ ภายในเวลา 10 นาที (AOR = 8.66, 95% CI = 1.43-52.24, P = 0.019)
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล มีจำนวน 3 ปัจจัย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยแพทย์ฉุกเฉินต่อไป
References
Czapla M, Zielińska M, Kubica-Cielińska A, Diakowska D, Quinn T, Karniej P. Factors associated with return of spontaneous circulation after out-of-hospital cardiac arrest in Poland: a one-year retrospective study. BMC Cardiovasc Disord 2020; 20: 288.
Abass, NI, Soliman MT. Effect of implementing advanced cardiovascular life support (ACLS) guidelines 2016 on nurse’s knowledge and performance. Am J Nurs Res 2020; 8: 534-42.
Castan C, Münch A, Mahling M, Haffner L, Griewatz J, Hermann-Werner A, et al. Factors associated with delayed defibrillation in cardiopulmonary resuscitation: a prospective simulation study. PLoS One 2017; 12: e0178794.
Awad E, Humphries K, Grunau B, Besserer F, Christenson J. The effect of sex and age on return of spontaneous circulation and survival to hospital discharge in patients with out of hospital cardiac arrest: A retrospective analysis of a Canadian population. Resusc Plus 2021; 5: 100084.
Hirlekar G, Jonsson M, Karlsson T, Hollenberg J, Albertsson P, Herlitz J. Comorbidity and survival in out-of-hospital cardiac arrest. Resuscitation 2018; 133: 118-23.
Nichol G, Cobb LA, Yin L, Maynard C, Olsufka M, Larsen J, et al. Briefer activation time is associated with better outcomes after out-of-hospital cardiac arrest. Resuscitation 2016; 107: 139-44.
ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2564; 30: 43-57.
ธีราภรณ์ ฉายาวุฒิพงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์อุดรราชธานี 2565; 30: 58-67.
Oving I, Masterson S, Tjelmeland IBM, Jonsson M, Semeraro F, Ringh M, et al. First-response treatment after out-of-hospital cardiac arrest: a survey of current practices across 29 countries in Europe. Scand J Trauma Resusc Emerg Med 2019; 27: 112.
Bækgaard JS, Viereck S, Møller TP, Ersbøll AK, Lippert F, Folke F. The effects of public access defibrillation on survival after out-of-hospital cardiac arrest. Circulation 2017; 136: 954-65.
Ran L, Liu J, Tanaka H, Hubble MW, Hiroshi T, Huang W. Early administration of adrenaline for out-of-hospital cardiac arrest: a systematic review and meta-analysis. J Am Heart Assoc 2020; 9: e014330.
Milan M, Perman SM. Out of hospital cardiac arrest: a current review of the literature that informed the 2015 American heart association guidelines update. Curr Emerg Hosp Med Rep 2016; 4: 164-71.
Gullo A, Sallusti R, Trillò G. The chain of survival. a review in year 2000. Minerva Anestesiol 2000; 66: 503-16.
Haukoos JS, Witt G, Gravitz C, Dean J, Jackson DM, Candlin T, et al. Out-of-hospital cardiac arrest in denver, colorado: epidemiology and outcomes. Acad Emerg Med 2010; 17: 391-8.
Amnuaypattanapon K, Udomsubpayakul U. Evaluation of related factors and the outcome in cardiac arrest resuscitation at Thammasat Emergency Department. J Med Assoc Thai 2010; 93 Suppl 7: S26-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น