ข้อมูลทั่วไปของระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ ที่เข้ารับการรักษาในแผนกโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผู้แต่ง

  • สุภิดา ลอยธาร กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, มะเร็งไทรอยด์

บทคัดย่อ

บทนำ: มะเร็งไทรอยด์เป็นมะเร็งของต่อมไร้ท่อที่พบมากที่สุดทั่วโลกและมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากมะเร็งไทรอยด์มีการพยากรณ์โรคดี การวินิจฉัยและรักษาได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้รักษาให้หายขาดได้ 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ที่เข้ารับการรักษาในแผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ retrospective cohort study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบ HosXp ของผู้ป่วยมีก้อนไทรอยด์ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในที่แผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2566

ผลการศึกษา: จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วย จำนวน 264 ราย เพศชาย 22 ราย เพศหญิง 242 ราย อายุเฉลี่ย 46 ปี ผลชิ้นเนื้อ  ไม่ใช่มะเร็งไทรอยด์ 191 ราย (72.73%) และมะเร็งไทรอยด์ 73 ราย (27.27%) มะเร็งไทรอยด์ชนิดที่พบมากที่สุด คือ Papillary thyroid carcinoma 61 ราย (83.56%) จากการศึกษาปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งไทรอยด์ พบว่า การส่งตรวจอัลตร้าซาวด์สงสัยมะเร็ง (Adj OR= 20.687 95% CI = 5.510-77.678, p = <0.001) และผลพยาธิวิทยาจากการเจาะเนื้อส่งตรวจสงสัยมะเร็ง (Adj OR= 18.649 95% CI = 4.9-70.982, p = <0.001)

สรุป: ความชุกของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ คิดเป็นร้อยละ 27.65 จากผู้ป่วยที่มีก้อนไทรอยด์ที่เข้ารับการรักษาในแผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ การส่งตรวจอัลตร้าซาวด์สงสัยมะเร็งและผลพยาธิวิทยาจากการเจาะเนื้อส่งตรวจสงสัยมะเร็ง เป็นปัจจัยที่พยากรณ์ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งไทรอยด์ น่าจะต้องรักษาอย่างรวดเร็ว

References

Cueto M. The World Health Organization. Global Health Essentials: Springer; 2023. p. 421-4.

Sriplung H, Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungrung K, Sangrajrang S, et al., Cancer in Thailand: Vol VIII, 2010-2012. Bangkok: National Cancer Instritute, Thailand; 2015. p. 64-6.

Tangsathitporn R. Clinical and pathological characteristics of solitary thyroid nodules in Trang hospital. Songklanagarind Medical Journal. 2011;29(2):65-75.

สุทธิพันธ์ ดำริห์ศิลป์. อุบัติการณ์และการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งไทรอยด์ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดที่แผนก หู คอ จมูก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. หัวหินเวชสาร 2565;22-33.

Chokchai T, Aroonroch R, Binsirawanich P. Correlations between proportion of poorly differentiated thyroid carcinoma area within cancer nodule and worse outcomes in Ramathibodi hospital. Thai Journal of Otolaryngology Head and Neck Surgery. 2021;21(2):46-61.

Huang M, Yan C, Wei H, Lv Y, Ling R. Clinicopathological characteristics and prognosis of thyroid cancer in northwest China: A population‐based retrospective study of 2490 patients. Thoracic Cancer. 2018;9(11):1453-60.

Cho BY, Choi HS, Park YJ, Lim JA, Ahn HY, Lee EK, et al. Changes in the clinicopathological characteristics and outcomes of thyroid cancer in Korea over the past four decades. Thyroid. 2013;23(7):797-804.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์ จำกัด; 2558.

Foundation N. NCCN Guidelines for Patients Thyroid Cancer, [Internet]. 2024 [cited 2024 Nov 15]. Available from: https://www.nccn.org/patients/guidelines/content/PDF/thyroid-patient.pdf

ศักดิ์ชัย ธีระวัฒนสุข. ผลการดูแลและค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยก้อนต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Medicine and Health Scienced 2013;24-30.

Benbassat CA, Mechlis-Frish S, Hirsch D. Clinicopathological characteristics and long-term outcome in patients with distant metastases from differentiated thyroid cancer. World journal of surgery. 2006;30:1088-95.

Graceffa G, Salamone G, Contino S, Saputo F, Corigliano A, Melfa G, et al. Risk factors for anaplastic thyroid carcinoma: a case series from a tertiary referral center for thyroid surgery and literature analysis. Frontiers in Oncology. 2022;12:948033.

Zeng R, Shou T, Yang K-x, Shen T, Zhang J-p, Zuo R-x, et al. Papillary thyroid carcinoma risk factors in the Yunnan plateau of southwestern China. Therapeutics and Clinical Risk Management. 2016;1065-74.

Abičić I, Prpić T, Bogović V, Milanković SG, Mihalj H, Včeva A, et al. Characteristics of Malignant Thyroid Tumors: A Retrospective Study on 320 Patients. Acta Clinica Croatica. 2020;59(Supplement 1):108-14.

Zhang X, Ze Y, Sang J, Shi X, Bi Y, Shen S, et al. Risk factors and diagnostic prediction models for papillary thyroid carcinoma. Frontiers in Endocrinology. 2022;13:938008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
ลอยธาร ส. ข้อมูลทั่วไปของระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ ที่เข้ารับการรักษาในแผนกโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 30 เมษายน 2025];8(2):14-2. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/276273