ประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งคอหอยส่วนล่าง หลังได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด

ผู้แต่ง

  • กฤตยา เลิศนาคร กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบามหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งคอหอยส่วนล่าง, การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด, อัตราการรอดชีวิต, อัตราการกลับเป็นซ้ำ, ภาวะคอหอยรั่วหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

บทนำ : มะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งคอหอยส่วนล่างเป็นมะเร็งที่สำคัญของแพทย์โสตศอนาสิก ในการวางแผนการรักษา การให้คำแนะนำ วิธีการเลือกการรักษา โดยเฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการรักษามะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งคอหอยส่วนล่างในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด

วัสดุและวิธีการศึกษา : รูปแบบการศึกษาแบบย้อนหลัง เฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งคอหอยส่วนล่างโดยการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมดที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชโดยแพทย์คนเดียวกัน

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในช่วงเวลาที่ศึกษาจำนวน 9 ราย มีภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นต้องได้รับการรักษาโดยการเจาะคอก่อนทำการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด โดยการผ่าตัด ร้อยละ 77.8  ไม่มีผู้ป่วยเกิดภาวะคอหอยรั่วหลังผ่าตัด อัตราการรอดชีวิตที่ 3 ปีอยู่ที่ร้อยละ 71.54 อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 28.6 ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมแบบกลางๆ คะแนนเฉลี่ย 87.67 คะแนน (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 19.40 คะแนน)

สรุป : การเลือกการรักษามะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งคอหอยส่วนล่างในระยะลุกลาม ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด ข้อมูลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และแผนการรักษามีความสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยยินยอมรับการผ่าตัด, การรักษาร่วมหลังผ่าตัด และยอมรับตนเองหลังผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมดได้

References

Patrick Sheahan,M.D.,Ziv Gil,M.D.,PhD.Mana of Advanced Laryngeal Cancer. Rambam Maimonides Med J .2019 Apr;5(2):41-49.

Hassan SJ. Assessment of quality of life in head and neck cancer patient.Arch Otolaryngol Head Neck Surg .2009;135(4):369-375.

Divi V.Chen MM. Survival benefit of post-operative chemotherapy for intermediate risk advanced stage head and nebo cancer .Oral Oncology 2018;84:71-75.

Lukas Anschuetz. Long-term functional outcome after laryngeal cancer treatment. Radiation Oncology 14 ,Article number:101(2019).

Uchechukwu C .Megwalu,MD,MPH,Andrew G Sikora,MD,PhD.Survival Outcomes in Advanced Laryngeal Cancer. JAMA Otolaryngol Head Neck Surg.2014;140(9):855-860.

Dr.Ezra Cohen,MD. Laryngeal Cancer Treatment for Health Professionals. American Joint Committee on cancer .AJCC Cancer Staging Handbook.7th Ed.Chicago:Springer;2010.

Davut Akduman,M.D. Larynx cancer treatment result:survive and quality of life assessment. Kulak Burun Bogaz Ihtis Derg 2010;20(1):25-32.

Chen AY. Factors predictive of survival in advanced laryngeal cancer. Arch Otolaryngeol Head Neck Surg.2007;133:1270-6.

Hadi A.Al-Hakami,Mohammed A .Al Garni,Haya Al Subayea. The incidence of thyroid gland invasion in advanced laryngeal squamous cell carcinoma.Braz J Otorhinolaryngol.2021 Sep-Oct;87(5):533-537.

Hoffman HT ,Porter K ,Carnell LH. Laryngeal cancer in the United States:changes in demographic,patterns of care ,and survival. Laryngoscope.2006;116:1-13.

Bourhis J. Prognostic Factors in Cancer.3rd Ed.Hoboken,NJ:John Wiley& Sons ,Inc.;2006:7:pp.99-104.

เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ค้นคว้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://www.dmh.go.th/test/whoqol.

F.G.R.Souza,I.C. Santos,A. Bergmann. Quality of life after total laryngectomy:impact of different vacal rehabilitation methods in a middle income country. Brazilian National cancer Institute, Rio de Janeiro 2023:2-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

1.
เลิศนาคร ก. ประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งคอหอยส่วนล่าง หลังได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด. MNST Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 1 พฤษภาคม 2025];8(2):1-13. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/MNSTMedJ/article/view/276272