การพยาบาลและการให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ระดับคอทางด้านหลัง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กัลย์กมล ดวงเทพ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การให้ยาระงับความรู้สึก, ผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอด้านหลัง, จัดท่านอนคว่ำ, แผนการพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: การผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอเทคนิคผ่าตัดจากทางด้านหลังจะมีการจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนคว่ำทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาโดยมีผลต่อระบบไหลเวียนเลือด  และมีความเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง                                         

วัตถุประสงค์: เพื่อให้วิสัญญีพยาบาลรู้และเข้าใจให้การระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอทางด้านหลังได้

วัสดุและวิธีการศึกษา: นำเสนอด้วยกรณีศึกษา จำนวน 2 ราย ดังนี้                                                                  

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยรายที่ 1 มีกระดูกสันหลังระดับคอข้อที่ 6-7 หักเคลื่อนกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยรายที่ 2 มีกระดูกสันหลังคอข้อที่ 7 เสื่อมเคลื่อนกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยทั้ง 2 รายมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดและการให้ยาระงับความรู้สึกในระยะก่อนการให้ยาระงับความรู้สึก แพทย์ผ่าตัดกระดูกสันหลังจากทางด้านหลังทั้งคู่ ขณะผ่าตัดไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงใด ๆ ระยะหลังผ่าตัดผู้ป่วยรายที่ 1 มีอาการเจ็บคอ นอนพักในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 7 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2 มีหลอดเลือดดำขาขวาอักเสบ นอนพักในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 15 วัน                                                                                                                           

สรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นแนวทางการวางแผนการการพยาบาลผู้ป่วยให้ยาระงับความรู้สึก ร่วมกับการเฝ้าระวังจัดการอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะผ่าตัดและได้รับยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอทางด้านหลัง

References

ต่อพงษ์ บุญมาประเสริฐ. โรคกระดูกคอเสื่อม. เชียงใหม่: หจก. เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์ จำกัด ; 2552.

อภิชนา โฆวินทะ. ตำราบาดเจ็บไขสันหลัง: การฟื้นสภาพอย่างครอบคลุม เล่ม 1. เชียงใหม่: สุทินการพิมพ์ ; 2556.

ไพศาล จันทรพิทักษ์. Spinal Cord Injury. The yearbook of Orthopedic Review 1990.กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 1990. หน้า 79-92.

วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ.การรักษาภาวะกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทไขสันหลัง.คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2556:1-42.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. วิสัญญีบริบาลทันยุค.กรุงเทพฯ:ลักกี้ สตาร์ มีเดีย จำกัด; 2560

เจษฎา ธรรมสกุลศิริ, การให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกและข้อ. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธนาเพรสจำ กัด; 2555, หน้า 227-43.

สุรัญชนา เลิศศิริโสภณ. การดูแลและการจัดท่าผู้ป่วยให้ปลอดภัยในการผ่าตัด (Positioning) ในวิสัญญีบริบาลทันยุค พ.ศ 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัทลักกี้ สตาร์มีเดีย จำกัด. 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29