รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับอำเภอ กรณีศึกษา อำเภอละแม จังหวัดชุมพร : การวิจัยแบบผสมผสาน
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค, การวิจัยแบบผสมผสานบทคัดย่อ
บทนำ : จากมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับอำเภอ เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาถึงแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอุบัติใหม่ในอนาคตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อศึกษาปัจจัยและรูปแบบในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับอำเภอ
วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 310 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอค่าแจกแจงตามความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและแบบสเปียร์แมน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับปานกลาง ร้อยละ64.57 และมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคระดับดีมาก ร้อยละ 69.18 ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และระดับความรู้ทั่วไป มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r = 0.154, 0.121 0.158 ตามลำดับ) ผลของการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าการมีระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับอำเภอ ที่มีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วน รวมถึงการได้รับความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ทั้งมาตรการดานสาธารณสุข การประชาสัมพันธ์ การเตรียมความพร้อมทางการแพทย์ การบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ รวมถึงประชาชนมีความรู้ที่ดี สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ดี
สรุป: รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับอำเภอ ที่เหมาะสมกับบริบทระดับอำเภอ คือการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วน และอายุ ระดับการศึกษา และระดับความรู้ทั่วไป มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างชัดเจน
References
World Health Organization. Coronavirus. [Internet]. 2021[cited 2021 June 29]. Available from:https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1
ทวิติยา สุจริตรักษ์. ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับไวรัส SARS-CoV-2: ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://pidst.or.th/A966.html
Li X, Luk H, Lau S, Woo P. Human coronavirus: General features. Reference Module in Biomedical Sciences. 2019: B978-0-12-801238-3.95704-0.
Zhou P, Yang XL, Wang XG. A pneumonia outbreak associated with a new coronavirus of probable bat origin. Nature 2020;579:270-3.
สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, สุมนมาลย์ อุทยมกุล. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 124-33.
Weekly COVID-19 Epidemiological Update: Issue 37 (18 October 2022). [Internet]. 2021[cited 2022 November 5]. Available from: https://iris.paho.org/handle/10665. 2/56570
ชุมพรจัดทัพ รับมือโควิด. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. (2565, 5 พฤศจิกายน). รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 จ.ชุมพร วันที่ 13 กันยายน 2565. Facebook. https://www. facebook.com/ชุมพรจัดทัพรับมือโควิด-100999761553351
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). (2565, 5 พฤศจิกายน). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) วันที่ 30 กันยายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน2565]. เข้าถึงได้จากhttps://www.facebook.com /informationcovid19 /photos/a.106142991004034/655363792748615/
งานกฎหมาย อบต.ดอนแก้ว. ราชกิจจาฯ ประกาศผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 มีผลทันที [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน2565]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php? news=16434&deptcode=brc
Xu ZQ, Wang JZ, Wang HR, He JF, Wang B, Yang YC, et al. Research on COVID-19 prevention and control strategies, and the effect of home quarantine in Shenzhen, China, 2020. Research Square; 2020. DOI: 10.21203/rs.3.rs-23969/v1.
Zou X, Xu ZQ, Wang HR, Wang BX, He JF, Wang JZ. Study on the COVID-19 infection status, prevention and control strategies among people entering Shenzhen. BMC public health 2021; 21(1): 551.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210 610033910.pdf
ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของ ประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(1): 33-47.
บงกช โมระสกุล, พรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 15(37): 179-95.
Simmonds P, Sutthisai W. Concept Paradigm and Framework in Sample Sizing with G*Power. 2019 [Internet]. [Access date 10 Nov 2019]. Available from: https://www.researchgate.net/publication/331968010_Concept_Paradigm_and_FrameWork_in_Sample_Sizing_with_GPower
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) [อินเทอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php
Schober P, Boer C, Schwarte LA. Correlation Coefficients: Appropriate Use and Interpretation. Anesth Analg 2018; 126(5): 1763-8.
กัมปนาท โคตรพันธ์, นิยม จันทร์นวล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, จังหวัดอุบลราชธานี. 2565.
วิชาญ ปาวัน, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ. การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย ประจำปี 2559. วารสาร วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 11(1): 70-9.
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์นีละไพจิตร, ณัฐนารี เอมยงค์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เรื่องโครงการ สำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องโรคการปฏิบัติตัว และการได้รับวัคซีนโควิด-19 ของประชาชน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ และผู้พิการทางการเห็น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
คณยศ ชัยอาจ, จุลจิลา หินจำปา, บุญทนากร พรมภักดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2566; 30(3): 113 -25
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น