ค่าการกำจัดยาวาลโปรอิกแอซิดในผู้ใหญ่โรคลมชักที่ได้รับยาเดี่ยว และได้รับยากันชักอื่นร่วมด้วย ณ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
วาลโปรอิกแอซิด, ค่าการกำจัดยา, เภสัชจลนศาสตร์บทคัดย่อ
บทนำ : เภสัชจลนศาสตร์ของยาวาลโปรอิกแอซิด แตกต่างกันแต่ละกลุ่มประชากรตามกลุ่มอายุ เชื้อชาติและ การใช้ร่วมกับยากันชักที่เหนี่ยวนำเอนไซม์ ซึ่งเพิ่มค่าการกำจัดยา
วัตถุประสงค์ : เพื่อประมาณค่า และเปรียบเทียบ ค่าการกำจัดยาวาลโปรอิกแอซิด ในผู้ใหญ่ที่ใช้ยาเดี่ยว และใช้ยากันชักอื่นร่วมด้วย
วัสดุและวิธีการศึกษา : ศึกษาข้อมูลย้อนหลังระหว่างเดือนมกราคมปี 2560 ถึงเดือน ธันวาคม 2565 โดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ และจากรายงานการตรวจวัดและแปลผลระดับยาในเลือดของผู้ป่วยตามปกติ ของโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ในผู้ป่วยอายุ 18 - 60 ปี ที่ได้รับยา วาลโปรอิก (Depakine chrono) ที่ใช้เป็นยาเดี่ยว เป็นเวลามากกว่า 3 วันและใช้ยากันชักอื่น ได้แก่ ฟีนิโตอิน ฟีโนบาร์บิทาล หรือ คาบามาซีพีน ร่วมด้วยเป็นเวลามากกว่า 10 วัน
ผลการศึกษา : จากข้อมูลผู้ป่วย 225 ราย เป็นกลุ่มที่ใช้ยาวาลโปรอิกแอซิดอย่างเดียว 113 ราย (ชาย 51 หญิง 62) และกลุ่มที่ใช้ยากันชักอื่นร่วมด้วย 112 ราย (ชาย 59 หญิง 53) พบว่าค่าการกำจัดยา เป็น 8.91 + 2.78 ml/kg/hr ในกลุ่มที่ใช้ยาเดี่ยว และ 16.84 + 4.42 ml/kg/hr ในกลุ่มที่ใช้ยากันชักอื่นร่วมด้วยซึ่งต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ค่าการกำจัดยาในกลุ่มที่ใช้ร่วมกับฟีนิโตอิน (85 ราย) เท่ากับ 17.20 + 4.36 ml/kg/hr ฟีโนบาร์บิทาล (15 ราย) 15.98 + 4.79 ml/kg/hr คาบาร์มาซีพีน (1 ราย) 16.67 ml/kg/hr ทั้งฟีนีโทอินและฟีโนบาร์บิทาล (13 ราย) 16.62 + 5.27 ml/kg/hr
สรุป : ค่าการกำจัดยาวาลโปรอิคแอซิดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ใช้เป็นยาเดี่ยว มีค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ยากันชักอื่นที่มีฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ร่วมด้วยอย่างมาก และค่าการกำจัดยาที่ได้จากประชากรกลุ่มเฉพาะจะช่วยให้การกำหนดขนาดยาเริ่มต้นได้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายตามเชื้อชาติ และยากันชักอื่นที่ใช้ร่วมด้วย
References
Corbett AH, Dana WJ, Fuller MA, Gallagher JC, Golembiewski JA, Gonzaled JP, et al. Drug information hand book with international trade names index. 23rd ed. Hudson: Lexi-Comp; 2014: 2173-6.
Perucca E, Grimaldi R, Gatti G, Pirracchio S, Crema F, Frigo GM. Pharmacokinetics of valproic acid in the elderly. Br J Clin Pharmacol 1984;17: 665-6.
Bowdle AT, Patel IH, Levy RH, Wilensky AJ. valproic acid dosage and plasma protein binding and clearance. Clin Pharmacol Ther 1980; 28: 486-92.
Ghodke-Puranik Y, Thorn CF, Lamba JK, Leeder JS, Song W, Birnbaum AK, Altman RB, Klein TE. Valproic acid pathway: pharmacokinetics and pharmacodynamics. Pharmacogenet Genomics. 2013 Apr;23(4):236-41.
Kim SC, Kim MG. A meta-analysis of the influence of UGT1A6 genetic polymorphisms on valproic acid pharmacokinetics. Int J Clin Pharmacol Ther 2019; 57: 144–51.
Tan L, Yu JT, Sun YP, Ou JR, Song JH, Yu Y. The influence of Cytochrome oxidase CYP2A6, CYP2B6, and CYP2C9 polymorphisms on the plasma concentrations of valproic acid in epileptic patients. Clin Neurol Neurosurg 2010; 112: 320–3.
Aphichartphunkawee S, Chinvarun Y, Kijsanayotin P. Association of genetic variants in UGT1A6 genes and non-genetic variant with valproic acid doses and plasma concentration in Thai epileptic patients,Thai J of Pharm Sci 2014; (38): 98-103.
Tassaneeyakul W, Mahatthanatrakul W, Niwatananun K, Na-Bangchang K, Tawalee A, Krikreangsak N, et al.CYP2C19 Genetic Polymorphism in Thai, Burmese and Karen populations. Drug Metab. Pharmacokinet 2006; 21: 286-90.
Tassaneeyakul W, Tawalee A, Tassaneeyakul W, Kukongviriyapan V, Blaisdell J, Goldstein JA, et al.Analysis of the CYP2C19 polymorphism in a North-eastern Thai population. Pharmacogenetics 2002; 12: 221-5.
Fang H, Wang X, Hou K, Zhang Y, Shao S, Zhang G, et al. The association of adjusted plasma valproic acid concentration with CYP2C9 gene polymorphism in patients with epilepsy: a systematic review and meta-analysis. Ann Transl Med 2021;9 (10):846. doi: 10.21037/atm-21-1459.
Winter Me. Basic Clinical Pharmacokinetic.4th ed. Philadelphia: Lippincott William & Wilkins; 2004; 438-49.
Bauer LA. Applied Clinical Pharmacokinetic.2nded. Washington : McGrawHill; 2008: 563-98.
จินตนา สุวรรณมณี.ค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาวาลโปรอิกแอซิดแบบยาเดี่ยวในผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก: ประมาณจากความเข้มข้นของยาทั้งหมดและยาในรูปอิสระในซีรัม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. เภสัชศาสตร์ (เภสัชกรรมคลินิก) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย, 2545.
Methaneethorn J. Population pharmacokinetics of valproic acid in patients with Mania: implication for individualized dosing regimens. Clin Ther 2017; 39 (6): 1171–81.
Lampon N, Tutor JC. Apparent clearance of valproic acid in elderly epileptic patients: estimation of the confounding effect of albumin concentration. Ups J Med Sci. 2012;117(1):41-6
Forooghipour M, Mohammadpour AH, Mashhadian NV, Khayyat MH, Azarpajouh MR, Mokhber N, Aghebati T, et al. Therapeutic drug monitoring of valproic acid in patients with monotherapy at steady state. Iran J Basic Med Sci. 2009;12:146–9.
Alqahtan S, Alasdas N, Alsultan A. Estimation of Apparent clearance of valproic acid in adult Saudi patients. International J Clin Pharm 2019; 41: 1056-61.
Ibraham.H, Abrahman A.Pharmacokinetic Parameters of valproic acid and Cabamazepine from Routinely Collected Data: Influence of Patient Characteristics. Malaysian J Pharm. Sci 2008; 1(6): 33-42.
Yukawa E, Nonaka T, Yukawa M, Higuchi S, Kuroda T, Goto Y. Pharmacoepidemiologic investigation of a clonazepam-valproic acid interaction by mixed effect modeling using routine clinical pharmacokinetic data in Japanese patients. J Clin Pharm Ther. 2003;28(6):497-504
Panomvana D, Boonmark L, Sriboonruang T, Towanabut S. Comparisons of pharmacokinetic parameters of valproic acid between responsive and resistant adult epileptic. Chula Med J 2010; 54(3): 237-49.
Ding J, Wang Y, Lin W, Wang C, Zhao L, Xingang L, et al. A population pharmacokinetic model of valproic acid in pediatric patients with epilepsy: a non-linear pharmacokinetic model based on protein-binding saturation. Clin Pharmacokinet 2015; 54: 305–17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น