ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
บทนำ : การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อในผู้ป่วย ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากรทางการพยาบาลต่อไป
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า
วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานให้การดูแลผู้ป่วยโดยตรงทั้งหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในโรงพยาบาลตะกั่วป่า ณ หอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง หอผู้ป่วยเด็ก หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย งานผู้ป่วยนอกและกลุ่มงานเวชกรรมสังคม จำนวนทั้งหมด 125 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ แบบประเมินทัศนคติ และแบบประเมินการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา : 1) พยาบาลวิชาชีพมีความรู้การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน ระดับปานกลางจำนวนมากสุด คิดเป็นร้อยละ 56.00 2) พยาบาลวิชาชีพมีทัศนคติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง มีจำนวนมากสุด คิดเป็นร้อยละ 100 3) พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 96.00 และ 4) ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
สรุป : พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตะกั่วป่ามีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานในภาพรวมมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติและพฤติกรรมอยู่ในระดับสูงและทั้ง 3 ด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
Center of Disease Control and Prevention. Antibiotic resistance threats in the United States. Atlanta, GA: U.S. Department of Health and Human Services, CDC; 2021.
National Antimicrobial Resistance Surveillance Thailand (NARST). The Situation of Antibiotic Resistance in Thailand [Internet]. 2020 [cited 2023 May 26]. Available from: http://narst.dmsc.moph.go.th/news001.html.
ชมพูนุช สุภาพวานิช และคณะ. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563;7(1):29-40.
ประณีต หล่อปรีชากุล, ชนณิศา แก้ววิเศษ. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2566;34(1):115-28.
อรุณี นาประดิษฐ์. ความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติงานตามหลักการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลปลวกแดง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2559;33(1):6-18.
สุพรรษา รุ่งเรือง, นันทา สุนทรวิภาต. ความรู้ เจตคติและการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลด่านช้าง. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2566;2(2):73-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น