ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดิน และพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขต อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จินตนา ทองเพชร วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สาธิมาน มากชูชิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พัชรินทร์ คมขำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดวงฤทัย พงศ์ทรัพย์การุณ โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทนำ : ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและความเสื่อมตามวัยทำให้พบปัญหาสุขภาพที่สำคัญ คือการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดิน และพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

 วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิดสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60-70 ปี ที่ผ่านการประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการหกล้ม จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 27 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 27 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

 ผลการศึกษา : หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.05) ค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้ในการทดสอบความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดิน พบว่าก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยเวลาไม่แตกต่างกัน (p =.110) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเวลาใช้ในการทดสอบความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดินดีกว่ากลุ่มควบคุม

 สรุป : โปรแกรมสามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น นำไปสู่การมีพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มที่ดีขึ้น และส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการลุกยืนและก้าวเดินดีขึ้น

References

นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 – 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/file/violence/202560-2564.pdf

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดยะลา. รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดยะลาปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_20210402140643.pdf

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. ข้อมูลพื้นฐานด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://idc.sbpac.go.th/web/v_pp_list_list.php?goto=9

กรมควบคุมโรค. รายงานการสำรวจสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=23843

World Health Organization. Health Promotion Glossary [Internet]. 1998 [cited 2022 Dec 28]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HPR-HEP-98.1

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and community strategies into the 21st century. Health Promotion International [Internet]. 2000 [cited 2023 Jan 5];15(3):259-67. Available from: https://doi.org/10.1093/heapro/15.3.259

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;9:1-8.

กองสุขศึกษา. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://hed.go.th/linkHed/355

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, สมพร รักความสุข, อรวรรณ ดวงใจ. ความรอบรู้ทางสุขภาพของ นักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;16:1-9.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine [Internet]. 2008 [cited 2023 Jan 5];67(12):2072-8. Available from: https://www.sciencedirect.com /science/article/abs/pii/S0277953608004577?via%3Dihub

ปรีดา สาราลักษณ์, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2565;15:1-13.

สุรีย์ สิมพลี, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายโดยท่าบริหารมณีเวชประยุกต์เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขศึกษา 2562;42:149-59.

นิชดา สารถวัลย์แพศย์, สมยศ ศรีจารนัย, เมณี ระดาบุตร, ปัฐยาวัชร ปรากฏผล, วนิดา ชวเจริญพันธ์, ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์. การพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เขตสุขภาพที่ 4. วารสารพยาบาลตำรวจ 2562;11:95-106.

มนต์ชัย อโณวรรณพันธ์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2564;17:15-22.

ภาวดี วิมลพันธุ์, ขนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23:98-109.

จรัญญา ส่งเสริม. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสาร โรงพยาบาลนครพนม 2564;8:73-83.

วีระยุทธ แก้วโมกข์. ผลการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของผู้สูงอายุ. บูรพาเวชสาร 2560;4:31-9.

กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์, ผจงจิต ไกรถาวร. ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการหกล้มโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อสมรรถภาพทางกายและการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุมี่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร: วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2558;29:98-113.

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, จรูญรัตน์ รอดเนียม, พีรวิชญ์ สุวรรณเวลา. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2565;14:72-91.

ชิดชนก ศิริวิบุลยกิติ, กุลนาถ มากบุญ. ผลของโปรแกรมท่าศาลาในการเสริมสร้างสมรรถนะทางกายเพื่อลดความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39:127-37.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินท์, กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:186-95.

ภาสกร ชาญจิราวดี, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ประเสริษฐศักดิ์ กายนาคา, สมบัติ อ่อนศิริ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18:41-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29