ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ ไข่เศษ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
  • กมลวรรณ สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยุพา ปังแลมาเส็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทนำ : คุณภาพชีวิตคือการที่บุคคลสามารถดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสม ตามสภาพความจำเป็นพื้นฐานที่ได้กำหนดไว้ในสังคมหนึ่งๆ ในลักษณะที่ตนเองมีความพึงพอใจ มีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ตนเองอยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี สืบเนื่องจากการได้รับการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสมด้วย

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกระทูน-พิปูนล้นเกล้า อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ในช่วงเดือนมกราคม 2567 จำนวน 84 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม WHOQOL-BREF-THAI ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 ทำการวิเคราะห์ t-test ในกรณีที่ตัวแปรอิสระแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม วิเคราะห์ One-Way ANOVA ในกรณีที่ตัวแปรอิสระมีตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป

ผลการศึกษา : พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 92.73, SD = 9.3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวม คือ ความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้ อาชีพ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป : ความเพียงพอของรายได้ต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้ อาชีพ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และระดับการศึกษา ของผู้สูงอายุมีส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้น จึงควรมีการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุภายในชุมชน ร่วมกันทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

 

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/download/laws/ th1653553501-843_0.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ มิถุนายน 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/statistics_side?content=1&sub=2

ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี จ.สตูล ปีงบประมาณ 2567. [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://stn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a

World Health Organization. Programme on mental health: WHOQOL measuring quality of life [Internet]. 1997 [cited 2023 Nov 15]. Available from: https://www.who.int/ mental health/media/68.pdf

สุรีย์วรรณ สีลาดเลา. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(3): 298-309.

วุฒิฌาน ห้วยทราย, ศรายุทธ ชูสุทน. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566; 32(1): 63-72.

ชวนนท์ อิ่มอาบ.คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563; 39(1): 65-77.

วาสนา หลวงพิทักษ์, จิตติมา ดวงแก้ว. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดพรรณบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562; 20(38): 67-81.

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว, ภานุมาศ ทองเหลี่ยม, ศิริยากร ทรัพย์ประเสริฐ . ปัจจัยพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 328(3): 394-401.

ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลประปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล, สอาด มุ่งสิน. คุณภาพชีวิตภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตเมืองอุบลราชธานี. วารสารเกื้อการณย์ 2561; 25(2): 137-151.

พรทิพย์ ทัพวัฒน์.คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ 2561; 1(3), 37-53.

เสาวนีย์ ระพีพรกุล. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบีงคำพร้อยหมู่ 11 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 2560; 9(1): 153-65.

Barzanjeh Atri S, Pakpour V, Farshbaf Khalili A, Asghari Jafarabadi M, Nosrati Kharajo Z. Social Capital and Its Predictive Role in Quality of Life among the Elderly Referring to Health Centers in Tabriz, Iran: A Community- Based Study. J Caring Sci. 2020; 9(4): 212 - 19.

ประกาย จิโรจน์กุล. การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2556.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาล. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI) [อินเทอร์เน็ต]. 2540 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

จุฑามาศ วงจันทร์, สุวรรณา วุฒิรณฤทธ์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 6. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2565; 12(1): 32-49.

ศุภชาติ เขมวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดตรัง. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2566; 3(2): 72-95.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/Elderly-Situation-2021-20220725_compressed.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29