การศึกษาการป้องกันภาวะความความดันโลหิตต่ำที่เกิดจากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในการผ่าตัดคลอดบุตร เปรียบเทียบระหว่างการให้ยา Phenylephrine ร่วมกับ Ephedrine กับการให้ยา Ephedrine อย่างเดียว : การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
คำสำคัญ:
Phenylephrine, Ephedrine, spinal anesthesia, elective cesarean delivery, hypotensionบทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในการผ่าตัดคลอด ยา Ephedrine เป็นยาที่นิยมใช้ แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด การใช้ยา Phenylephrine ซึ่งออกฤทธิ์ตีบหลอดเลือดได้โดยตรงร่วมกับการให้ยา Ephedrine น่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำจากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในการทำผ่าตัดคลอด โดยการให้ยา Phenylephrine ร่วมกับ Ephedrine เปรียบเทียบกับการให้ยา Ephedrine อย่างเดียวและปริมาณการยา Ephedrine เสริมที่ใช้แก้ไขภาวะดังกล่าว ตลอดจนผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
วัสดุและวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมโดยมีการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง ในหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนดที่มี ASA physical status I-II ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดแบบนัดหมายจำนวน 60 คนในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2566 หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะได้รับสารน้ำ 15 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมก่อนให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลัง จากนั้นจึงให้การระงับความรู้สึกด้วยยาชา hyperbaric Bupivacaine 10 มิลลิกรัม ร่วมกับ Morphine 0.2 มิลลิกรัม จากนั้นสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มศึกษา (กลุ่ม PE) จะได้รับยา Phenylephrine 10 ไมโครกรัมต่อนาที ร่วมกับ Ephedrine 2 มิลลิกรัมต่อนาที และกลุ่มควบคุม (กลุ่ม E) จะได้รับยา Ephedrine 2 มิลลิกรัมต่อนาที โดยปรับยาตามขั้นตอนวิธีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หากเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยนิยามว่าค่าความดันซิสโตลิกน้อยกว่า 100 มม.ปรอท หรือต่ำกว่าร้อยละ 80 จากค่าพื้นฐาน จะได้รับการแก้ไขด้วยยา Ephedrine 6 มิลลิกรัมต่อครั้ง
ผลการศึกษา : ในกลุ่ม PE พบอุบัติการณ์ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้น 1 ครั้ง จำนวน 3 ราย และในกลุ่ม E จำนวน 1 ราย โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบอุบัติการณ์ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดซ้ำ 2 ครั้ง ในกลุ่ม E จำนวน 5 ราย และไม่พบในกลุ่ม PE โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.056) ปริมาณยาเสริม Ephedrine ที่ใช้แก้ไขความดันโลหิตต่ำในกลุ่ม PE มีค่าเฉลี่ย 6 มิลลิกรัม ซึ่งต่ำกว่ากลุ่ม E ที่มีค่าเฉลี่ย 9.4 +/-3.2 มิลลิกรัม (p-value=0.03) โดยทั้ง 2 กลุ่มไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าและภาวะความดันโลหิตสูง
สรุป : การให้ยา Phenylephrine 10 ไมโครกรัม/นาที ร่วมกับ Ephedrine 2 มิลลิกรัม/นาที มีแนวโน้มเพิ่มประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดซ้ำ จากการให้ยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังในหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอดเมื่อเปรียบเทียบการให้ยา Ephedrine 2 มิลลิกรัม/นาที อย่างเดียว อีกทั้งสามารถลดปริมาณยาเสริม Ephedrine ที่ใช้แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำได้ โดยทั้ง 2 กลุ่มไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน
References
Šklebar I, Bujas T, Habek D. SPINAL ANAESTHESIA-INDUCED HYPOTENSION IN OBSTETRICS: PREVENTION AND THERAPY. Acta Clin Croat. 2019 Jun;58(Suppl 1):90-95. doi: 10.20471/acc.2019.58.s1.13. PMID: 31741565; PMCID: PMC6813480.
Klöhr S, Roth R, Hofmann T, Rossaint R, Heesen M. Definitions of hypotension after spinal anaesthesia for caesarean section: literature search and application to parturients. Acta Anaesthesiol Scand. 2010 Sep;54(8):909-21. doi: 10.1111/j.1399-6576.2010.02239.x. Epub 2010 Apr 23. PMID: 20455872.
Skillman CA, Plessinger MA, Woods JR, Clark KE. Effect of graded reductions in uteroplacental blood flow on the fetal lamb. Am J Physiol. 1985 Dec;249(6 Pt 2):H1098-105. doi: 10.1152/ajpheart.1985.249.6.H1098. PMID: 4073279.
Corke BC, Datta S, Ostheimer GW, Weiss JB, Alper MH. Spinal anaesthesia for Caesarean section. The influence of hypotension on neonatal outcome. Anaesthesia. 1982 Jun;37(6):658-62. doi: 10.1111/j.1365-2044.1982.tb01278.x. PMID: 7091625.
Datta S, Alper MH, Ostheimer GW, Weiss JB. Method of ephedrine administration and nausea and hypotension during spinal anesthesia for cesarean section. Anesthesiology. 1982 Jan;56(1):68-70. doi: 10.1097/00000542-198201000-00019. PMID: 7053676.
Kang YG, Abouleish E, Caritis S. Prophylactic intravenous ephedrine infusion during spinal anesthesia for cesarean section. Anesth Analg. 1982 Oct;61(10):839-42. PMID: 7125249.
Morgan P. The role of vasopressors in the management of hypotension induced by spinal and epidural anaesthesia. Can J Anaesth. 1994 May;41(5 Pt 1):404-13. doi: 10.1007/BF03009863. PMID: 8055608.
Hall PA, Bennett A, Wilkes MP, Lewis M. Spinal anaesthesia for caesarean section: comparison of infusions of phenylephrine and ephedrine. Br J Anaesth. 1994 Oct;73(4):471-4. doi: 10.1093/bja/73.4.471. PMID: 7999486.
Kinsella SM, Carvalho B, Dyer RA, Fernando R, McDonnell N, Mercier FJ, Palanisamy A, Sia ATH, Van de Velde M, Vercueil A; Consensus Statement Collaborators. International consensus statement on the management of hypotension with vasopressors during caesarean section under spinal anaesthesia. Anaesthesia. 2018 Jan;73(1):71-92. doi: 10.1111/anae.14080. Epub 2017 Nov 1. PMID: 29090733.
Thomas DG, Robson SC, Redfern N, Hughes D, Boys RJ. Randomized trial of bolus phenylephrine or ephedrine for maintenance of arterial pressure during spinal anaesthesia for Caesarean section. Br J Anaesth. 1996 Jan;76(1):61-5. doi: 10.1093/bja/76.1.61. PMID: 8672382.
Mercier FJ, Riley ET, Frederickson WL, Roger-Christoph S, Benhamou D, Cohen SE. Phenylephrine added to prophylactic ephedrine infusion during spinal anesthesia for elective cesarean section. Anesthesiology. 2001 Sep;95(3):668-74. doi: 10.1097/00000542-200109000-00020. PMID: 11575540
Vercauteren MP, Coppejans HC, Hoffmann VH, Mertens E, Adriaensen HA. Prevention of hypotension by a single 5-mg dose of ephedrine during small-dose spinal anesthesia in prehydrated cesarean delivery patients. Anesth Analg. 2000 Feb;90(2):324-7. doi: 10.1097/00000539-200002000-00016. PMID: 10648315.
Guo L, Xu X, Qin R, Shi Y, Xue W, He L, Ma S, Chen Y. Prophylactic Norepinephrine and Phenylephrine Boluses to Prevent Postspinal Anesthesia Hypotension During Cesarean Section: A Randomized Sequential Allocation Dose-Finding Study. Drug Des Devel Ther. 2023 May 23;17:1547-1555. doi: 10.2147/DDDT.S406671. PMID: 37249928; PMCID: PMC10224683.
Nikooseresht M, Seifrabiei MA, Hajian P, Khamooshi S. A Clinical Trial on the Effects of Different Regimens of Phenylephrine on Maternal Hemodynamic After Spinal Anesthesia for Cesarean Section. Anesth Pain Med. 2020 Jul 19;10(4):e58048. doi: 10.5812/aapm.58048. PMID: 33134140; PMCID: PMC7539049.
Alday Muñoz E, Palacio Abizanda F, De Diego Pdel R, Gilsanz Rodríguez F. Efedrina frente a fenilefrina en bolo e infusión continua para prevención de la hipotensión arterial secundaria a la anestesia subaracnoidea en cesáreas. Estudio prospectivo, aleatorizado [Ephedrine vs. phenylephrine by intravenous bolus and continuous infusion to prevent hypotension secondary to spinal anesthesia during cesarean section: a randomized comparative trial]. Rev Esp Anestesiol Reanim. 2011 Aug-Sep;58(7):412-6. Spanish. doi: 10.1016/s0034-9356(11)70104-9. PMID: 22046862.
Ngan Kee WD, Lee A, Khaw KS, Ng FF, Karmakar MK, Gin T. A randomized double-blinded comparison of phenylephrine and ephedrine infusion combinations to maintain blood pressure during spinal anesthesia for cesarean delivery: the effects on fetal acid-base status and hemodynamic control. Anesth Analg. 2008 Oct;107(4):1295-302. doi: 10.1213/ane.0b013e31818065bc. Erratum in: Anesth Analg. 2008 Dec;107(6):2078. PMID: 18806043.
Maayan-Metzger A, Schushan-Eisen I, Todris L, Etchin A, Kuint J. Maternal hypotension during elective cesarean section and short-term neonatal outcome. Am J Obstet Gynecol. 2010 Jan;202(1):56.e1-5. doi: 10.1016/j.ajog.2009.07.012. Epub 2009 Aug 28. PMID: 19716536.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น