โครงการสำรวจความชุกของภาวะหมดไฟและความเครียด ในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะหมดไฟ, ความเครียด, บุคลากรทางการแพทย์บทคัดย่อ
บทนำ : บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มวิชาชีพที่มีความเครียดสูง ส่งผลให้เกิดภาวะหมดไฟ และมีผลกระทบในทางลบตามมา เช่น การให้บริการผู้ป่วยและต่อตัวบุคลากรเอง
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะหมดไฟและความเครียดในบุคลากรทางการแพทย์รพ.ราชบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟและความเครียด
วัสดุและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลบุคลากรทางการแพทย์รพ.ราชบุรี ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดภาวะหมดไฟ (T-CBI) และความเครียด (ST-5) วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยวิธี Spearman rank correlation
ผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่าง 302 คน พบว่ามีภาวะหมดไฟระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 34.1 และ มีความเครียดระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 57 ภาวะหมดไฟมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความเครียด เพศหญิง สถานภาพโสด ชั่วโมงการปฏิบัติงาน ความไม่เพียงพอของรายได้ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอายุ จำนวนบุตร จำนวนปีที่ทำงาน วันหยุดพักผ่อน และรายได้
สรุป : ผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟน้อยหรือไม่มีภาวะหมดไฟ และมีความเครียดน้อย โดยปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะหมดไฟ เช่น ความเครียด ชั่วโมงการทำงาน และความไม่เพียงพอของรายได้ และปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงลบ เช่น อายุ จำนวนวันหยุด รายได้ เป็นต้น
References
ศรีสกุล เฉียบแหลม. ภาวะหมดไฟในการทำงาน. แพทยสารทหารอากาศ. 2562;65(2):44-52.
Phuekphan P, Yunibhand J, Chan S. Psychometric properties of the Thai version of copenhagen burnout inventory (T-CBI) in Thai nurses. J Health Res. 2016;30(2): 135-42.
Rotenstein L, Torre M, Ramos M, et al. Prevalence of Burnout Among Physicians: A Systematic Review. JAMA. 2018;320(11):1131–50.
Nguyen Ngoc A, Le Thi H, Vu Tuan A, Nguyen Van T. Occupational Stress Among Health Worker in a National Dermatology Hospital in Vietnam, 2018. Front Psychiatry. 2020 Jan 24.
Luangapichart P, Saisavoey N, Viravan N. Efficacy and Feasibility of the Minimal Therapist-Guided Four-Week Online Audio-Based Mindfulness Program 'Mindful Senses' for Burnout and Stress Reduction in Medical Personnel: A Randomized Controlled Trial. Healthcare (Basel). 2022;10(12).
Ramirez-Elvira S, Romero-Bejar J, Suleiman-Martos N, Gomez-Urquiza J, Monsalve-Reyes C, Canadas-De la Fuente GA, et al. Prevalence, Risk Factors and Burnout Levels in Intensive Care Unit Nurses: A Systematic Review and Meta-Analysis. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(21).
Youssef D, Youssef J, Abou-Abbas L, Kawtharani M, Hassan H. Prevalence and correlates of burnout among physicians in a developing country facing multi-layered crises: a cross-sectional study. Sci Rep. 2022;12(1):12615.
Kunno J, Supawattanabodee B, Sumanasrethakul C, Wiriyasirivaj B, Yubonpunt P. Burnout prevalence and contributing factors among healthcare workers during the COVID-19 pandemic: A cross-sectional survey study in an urban community in Thailand. Plos One. 2022;17(8):e0269421.
Chirico, F., Afolabi, A. A., Ilesanmi, O. S., Nucera, G., Ferrari, G., Sacco, A., Szarpak, L., Crescenzo, P., Magnavita, N., Leiter, M., Prevalence, risk factors and prevention of burnout syndrome among healthcare workers: An umbrella review of systematic reviews and meta-analyses, JOURNAL OF HEALTH AND SOCIAL SCIENCES, 2021; 6 (4): 465-491.
Sasithorn Y., Natwarat A., Phamornpun Y. Prevalence and factors associated of mental health among personnel in Mahasarakham hospital. MAHASARAKHAM HOSPITAL JOURNAL. 2022;19
Hatairat Y., Palakorn M., Kannika K., Amornsak P. Burnout among personnel of Chiangsaen hospital, Chiangrai provinceScience and Technology Northern Journal. 2024;5
Pongkan P. Prevalence and Factors related to Stress of Healthcare Providers during COVID-19 Pandemic Situation of Hospital under The Department of Medical Services, Ministry of Public Health. VRU research and development journal. 2022;17.
Jaruwan T., Prompilai B., Meechai O. Burnout Level of No-Rank Teacher Under the Bangkok Secondary Education Service Area Office Section 2, Ratchayothin United Campus, Journal of MCU Ubon Review, 2022;7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น