การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, รูปแบบการพยาบาล, ห้องฉุกเฉินบทคัดย่อ
บทนำ : โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน เป็นสาเหตุการตาย และการพิการเป็นอันดับต้นของโลก และอุบัติการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเป็นระยะวิกฤตที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงแต่เนื้อสมองยังไม่ตาย ถ้าทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอจะทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็วส่งผลให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติได้ พยาบาลห้องฉุกเฉินมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ การให้การพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ตามมาตรฐาน สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดอัตราการพิการและเสียชีวิตลงได้
วัตถุประสงค์ : พัฒนารูปแบบการพยาบาลและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาในกลุ่มพยาบาลห้องฉุกเฉิน จำนวน 36 ราย และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันจำนวน 55 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติ paired t-test
ผลการศึกษา : รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินประกอบด้วยแนวปฏิบัติในการคัดกรอง แนวปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน แนวปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยภาวะวิกฤติฉุกเฉินในโรงพยาบาล และชุดความรู้ในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน มีความเป็นได้ในระดับดีมาก (M=4.43, S.D.=0.54) พึงพอใจในระดับดีมาก (M=4.44, S.D.=0.58) พยาบาลมีคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) ผลลัพธ์ด้านคลินิก อัตรา Door to Physician time ภายใน 10 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 91.64 เป็นร้อยละ 97 2) อัตรา Door to CT initial time น้อยกว่า 25 นาที เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 84 3) อัตรา Door to needle time น้อยกว่า 60 นาที และอัตรา Door to puncture time of thrombectomy น้อยกว่า 90 นาทีเท่าเดิมคือร้อยละ 100 ไม่พบอัตราการคัดกรองผิดพลาดและอัตราอาการทรุดระหว่างการเคลื่อนย้ายไปยังแผนกอื่น
สรุป : รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเป็นการพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและองค์กร
References
นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาล. 2562;34(3):15-29.
World Health Organization. World Health Statistics 2018: Monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World Health Organization
กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข 2565
สมศักดิ์ เทียมเท่า. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2564; 37(4):54-60
บดีภัทร วรฐิติอนันต์. ระบบช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลนครปฐม : ความท้าทายเข้าสู่แนวปฏิบัติที่ดีเลิศในประเทศไทย.วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2562;35(2):17-29.
กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กระทรวง สาธารณสุข; 2564.
ศูนย์พัฒนาข้อมูลคุณภาพโรงพยาบาลหาดใหญ่. รายงานข้อมูลสถิติผู้รับบริการโรงพยาบาลหาดใหญ่ ปี 2563-2565.
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2023.
The Joanna Briggs Institute. Reviewers’ Manual 2014 Edition. Retrieved January 27, 2023 from http: www.joannabriggs.org/assets/ docs/sumari/reviewersmanual-2014.pdf
Polit DF, & Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice (10th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer; 2017.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดียจำกัด; 2553.
กัลยา ปวงจันทร์ และ ศิริกาญจน์ จินาวิน. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2564;28(2):1-17.
ยุวดี ผงสา. ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563;2(2):139-153.
เขมจิรา มิตพะมา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันแผนกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเซกา. ผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดบึงกาฬ 2560.
นฤมล วัลลภวรกิจ. ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563; 30(1):64-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น