ผลของกาวยึดฟันเทียมต่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวของผู้ป่วยใส่ฟันเทียมทั้งปาก โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวฟันเทียมทั้งปาก, คุณภาพฟันเทียมทั้งปากบทคัดย่อ
บทนำ : ปัญหาหลักที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากคือฟันเทียมหลวม ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของกาวยึดฟันเทียมต่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวของผู้ป่วยที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก โรงพยาบาลทุ่งสง
วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากจากโรงพยาบาลทุ่งสง จำนวน 80 ราย โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มควบคุมไม่ได้ใช้กาวยึดฟันเทียม ส่วนกลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำวิธีการใช้กาวยึดฟันเทียมใช้ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และติดตามการใช้งานทางโทรศัพท์ 1 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามลักษณะทั่วไป แบบตรวจคุณภาพเนื้อเยื่อรองรับและคุณภาพของฟันเทียมทั้งปาก แบบสอบถามการบริโภคอาหารและความพึงพอใจหลังใช้กาวยึดฟันเทียม ซึ่งตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index) เท่ากับ 1 ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (Reliability) เท่ากับ 0.821 การประเมินประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารโดยวิธีสอบถามระดับความยากง่ายในการเคี้ยวอาหารหลากหลายชนิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Chi-square statistics, Fisher ’exact test, Mann-Whitney U test และ Independent t-test เปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารภายในกลุ่มด้วย Pair t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Independent t -test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา : ก่อนการทดลองพบว่าคะแนนประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน แต่ภายหลังการทดลองใช้กาวยึดฟันเทียมพบว่ากลุ่มทดลองร้อยละประสิทธิภาพการบดเคี้ยวเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้กาวยึดฟันเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : สามารถแนะนำผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากแล้วมีปัญหาฟันเทียมหลวมให้ใช้กาวยึดฟันเทียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารให้ดีขึ้น แต่ต้องได้รับการตรวจเนื้อเยื่อรองรับฟันเทียมและคุณภาพฟันเทียมของผู้ป่วยว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้และไม่ชำรุด
References
ปราโมทย์ ปราสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557 .กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2558.
นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช, แพทย์หญิงลัดดา ดาริการเลิศ, นางสุนทรี พัวเวส. สถานการณ์ผู้สูงอายุปี 2557. กรุงเทพฯ: บริษัทอัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิสซิ่ง จำกัดมหาชน; 2557.
สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญ พาณิชย์ ; 2561
วรางคนา เวชวิธี. รายงานผลการดำเนินงาน แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2563
สุปราณี ดาโลดม, วรวุฒิ กูลแก้ว. แผนงานทันตสาธราณสุขสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย. คู่มือการดำเนินงานโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานกิจการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
Limpuangthip N, Somkotra T, Arksornnukit M. Modified retention and stability criteria for complete denture wearers: A risk assessment tool for impaired masticatory ability and oral health- related quality of life. J Prosthet Dent 2018;120(1):43-9.
Srisilapanan P, Sheiham A. The prevalence of dental impacts affecting daily performances in older people in Northern Thailand. Gerodontology 2001;18(2):102-8.
Jacobson TE, Krol AJ. A contemporary review of the factors involved in complete denture retention, stability, and support. Part I: retention. J Prosthet Dent 1983;49(1):5-15.
Thomason JM, Feine J, Exley C, Moynihan P, Müller F, Naert I, et al. Mandibular two implant-supported overdentures as the first choice standard of care for edentulous patients the York Consensus Statement. British dental journal 2009;207(4):185-6.
Grasso JE, Rendell J, Gay T. Effect of denture adhesive on the retention and stability of maxillary dentures. J Prosthet Dent 1994;72(1):399-405.
Tarbet WJ, Boone M, Schmidt NF. Effect of a denture adhesive on complete denture dislodgement during mastication. J Prosthet Dent 1980;44(1):374-8.
Kelsey CC, Lang BR, Wang RF. Examining patients’ responses about the effectiveness of five denture adhesive pastes. J Am Dent Assoc 1997;128:1532-8.
Adisman IK. The use of denture adhesives as an aid to denture treatment. J Prosthet Dent 1989;62:711-5
Hatch JP, Shinkai RS, SakaiS, Rugh JD, Paunovich ED. Determinants of masticatory performance in dentate adults. Archives of Oral Biology 2001;46(7):641-8.
Kosaka T, Ono T, Kida M, Kikui M, Yamamoto M, Yasui S, et al. A multifactorial model of masticatory performance. J Oral Rehab 2016;43(5):340-7.
Kapur K, Soman S, Yurkstas A. Test foods for measuring masticatory performance of denture wearers. J Prosthet Dent 1964;14(3):483-91.
พิมพ์วิภา เศรษฐวรพันธุ์ ทรงชัย ฐิตโสมกุลและไพฑูรย์ ดาวสดใส. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากและความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปแบบภาษาไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2557;64(1):26-46.
Limpuangthip N. Denture quality, patient satisfaction, Oral health-related quality of life and their association[dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2017.
Kapur K, Soman S, Yurkstas A. Test foods for measuring masticatory performance of denture wearers. J Prosthet Dent 1964;14(3):483-91.
Neil D, Roberts B. The effect of denture fixation om masticatory performance in complete denture patients. Journal of Dentistry 1973;1(5):219-22.
Kunon N, Kaewplung O. Comparison of chewing ability of mandibular implant-retained overdenture patients using the subjective and the objective assessments. CU Dent J 2014;37:171-82.
Van der Bilt A, Mojet J, Tekamp FA, Abbink JH. Comparing masticatory performance and mixing ability. J Oral Rehabil 2010;37(2):79-84.
ฉัตรวรินทร์ สกุลแต้ . การพัฒนาแบบสอบถามการบริโภคอาหารเพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของผู้ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564;24(2):49-59.
Thomas J. McGerry, Arthur Nimmo, James .F Skiba, ,Robert H. Ahlstrom, MS Christopher R.Smith,Jack H. Koumjain. Classification system for complete edentulism. J Prosthet Dent 1999;8(1):27-39.
De Oliveira Junior NM, Rodriguez LS, Marin DOM, Paleari AG, Pero AC, Compagnoni MA, Masticatory performance of complete denture werers after using two adhesives: a crossover randomized clinical trial The Journal of prosthetic dentistry 2014;112(5):1182-7
Garrett NR, Perez P, Elbert C, Kapur KK. Effects of improvements of poorly fitting dentures and new dentures on masticatory performance. J Prosthet Dent 1996;75(3):269-75.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น