การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาลสู่ระดับปฐมภูมิ
คำสำคัญ:
โรงพยาบาลโชคชัย, การพัฒนาระบบบริการ, การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ระดับปฐมภูมิ, นโยบายสู่การปฏิบัติบทคัดย่อ
บทนำ : จากปี 2557 ถึงปี 2559 โรงพยาบาลโชคชัยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.4 ซึ่งสูงกว่าอัตราป่วยของประเทศ สัดส่วนบุคลากรต่อผู้ป่วยไม่เพียงพอที่จะดูแลได้อย่างครอบคลุม ส่งผลให้ผู้ป่วยบางส่วนขาดนัด ควบคุมโรคไม่ดี เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อจัดระบบบริการปฐมภูมิให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงบริการคุณภาพ ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการ ลดการขาดนัด และลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย
วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยนำนโยบายสู่การปฏิบัติโดยใช้ The Intervention Mapping Method 6 ขั้นตอนของ Riphagen-Dalhuisen วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา : มีระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ 12 แห่ง สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้การเข้าถึงบริการที่ PCU เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ผู้ป่วยขาดนัดลดลงร้อยละ 4.5 ผู้ป่วยมี HbA1C≤7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ภาวะแทรกซ้อนต่อไต หลอดเลือดสมองและหัวใจลดลง ร้อยละ 2.48, 0.60 และ 0.38 ตามลำดับ อสม. ผู้ป่วย แพทย์และเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อระบบบริการที่พัฒนาขึ้น
สรุป : ระบบบริการปฐมภูมิที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย ลดการขาดนัด เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการควบคุมโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิต
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย. รายงานผลการดำเนินงานการประเมินการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ของ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครประจำปี 2556 [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 4 ธ.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.slideshare. net/channa7/2-2556-31017940.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลจาก: http://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลโชคชัย.รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาล โชคชัยประจำปี 2560. โรงพยาบาลโชคชัย;2560.
Starfield B. Primary Care: Balancing Health Needs, Services, and Technology. New York: Oxford Univeristy Press; 1998.
ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, สุภาเพ่งพิศ, สมชาย วิริดิรมย์กุล, นภาพร วาณิชย์กุล, ดวงเนตร ธรรมกุล, ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์ และคณะ. รายงานวิจัยติดตามประเมินผลนโยบายทีมหมอครอบครัว. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2558: 1-7.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติ [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 4 ธ.ค.2565]. เข้าถึงได้จากhttp://bps.ops.moph.go.th/index. php?mod=pbs&doc=5.
Riphagen-Dalhuisen J, Frijstein G, van der Geest-Blankert N, Danhof-Pont M, de Jager H, Bos N, et al. Planning and process evaluation of a multi-faceted influenza vaccina¬tion implementation strategy for health care workers in acute health care settings. BMC Infect Dis. 2013;13:235.
Humphreys JS, Wakerman J, Wells R, Kuipers P, Jones JA, Entwistle P. "Beyond workforce": a systemic solution for health service provision in small rural and remote communities. Med J Aust. 2008 Apr 21;188(S8):S77-80. doi: 10.5694/j.1326-5377.2008.tb01751.x. PubMed PMID: 18429743.
Dassah E, Aldersey H, McColl MA, Davison C. Factors affecting access to primary health care services for persons with disabilities in rural areas: a "best-fit" framework synthesis. Glob Health Res Policy. 2018 Dec 25;3:36. doi: 10.1186/s41256-018-0091-x. PubMed PMID: 30603678; PubMed Central PMCID: PMC6305566.
Zhang W, Ung COL, Lin G, Liu J, Li W, Hu H, Xi X. Factors Contributing to Patients' Preferences for Primary Health Care Institutions in China: A Qualitative Study. Front Public Health. 2020 Aug 18;8:414. doi: 10.3389/fpubh.2020.00414. PubMed PMID: 33014959; PubMed Central PMCID: PMC7461976.
Tricco AC, Ivers NM, Grimshaw JM, Moher D, Turner L, Galipeau J, et al. Effectiveness of quality improvement strategies on the management of diabetes: a systematic review and meta-analysis. Lancet. 2012;379(9833):2252-61.
Chalermsri C, Paisansudhi S, Kantachuvesiri P, Pramyothin P, Washirasaksiri C, Srivanichakorn W, Nopmaneejumruslers C, Chouriyagune C, Pandejpong D, Phisalprapa P. The effectiveness of holistic diabetic management between Siriraj Continuity of Care clinic and medical out-patient department. J Med Assoc Thai. 2014 Mar;97 Suppl 3:S197-205. PubMed PMID: 24772599.
Tong-Yuan Tai, Lee-Ming Chuang, Shih-Tzer Tsai, Bi-Yi Huang. Treatment of type 2 diabetes mellitus in a primary care setting in Taiwan: comparison with secondary/tertiary care. J Formos Med Assoc 2006; 105(2): 105-17.
จุฑารัตน์ บุตรดีขันธ์.การพัฒนารูปแบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในสถานการณ์การระบาด โรคไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2566; 8(1): 67-78.
Julia J. Smith, MS, Matthew D.et al. The Effect of Regular Primary Care Utilization on
Long-Term Glycemic and Blood Pressure Control in Adults with Diabetes. JABFM.J Am Board Fam Med 2015; 28: 28 –37.
ปราณี ชัยหลาก และอรุณ สู่หนองบัว. ผลของการรักาผู้ป่วยเบาหวานในสถานกาณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองชัยภูมิ. chaiyaphum medical journal 2563; 41: 111-21.
กิตติภพ โสภนและคณะ. ประสิทธิผลของหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อแบบเคลื่อนที่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที 2 ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของคลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. PCFM 2020; 3(3): 21-33.
Buehler AM, Cavalcanti AB, Berwanger O, Figueiro M, Laranjeira LN, Zazula AD, Kioshi B, Bugano DG, Santucci E, Sbruzzi G, Guimaraes HP, Carvalho VO, Bordin SA. Effect of tight blood glucose control versus conventional control in patients with type 2 diabetes mellitus: a systematic review with meta-analysis of randomized controlled trials. Cardiovasc Ther 2013; 31(3): 147-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น