การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • พัชรี พร้อมมูล หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • จินตนา ดำเกลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
  • มยุรี เมฆทัศน์ หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, รูปแบบ, ห้องฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขโลกและไทย โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีศูนย์โรคหัวใจ มีการนำระบบแม่ข่ายสั่งการทางไกลรถพยาบาลเข้ามาใช้เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล มีการพัฒนาช่องทางด่วนในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลของห้องฉุกเฉินตั้งแต่จุดคัดกรอง การพยาบาลในห้องฉุกเฉิน และการจำหน่ายจากห้องฉุกเฉิน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิต เพื่อให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ด้านบริการเป็นเลิศ และ hospital goal ในการลดความแออัดและลดวันนอนโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ : พัฒนารูปแบบการพยาบาลและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉิน

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาในกลุ่มพยาบาลห้องฉุกเฉิน จำนวน 36 ราย และผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจำนวน 70 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติ paired t-test และ independent t-test.

ผลการศึกษา : รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉินมีความเป็นได้ในระดับดีมาก (M=26.69, SD=2.05) พึงพอใจในระดับดีมาก (M=30.94, SD=2.42) พยาบาลมีคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) ผลลัพธ์ด้านคลินิก ทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 82.79 เป็นร้อยละ 100 ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.86 เป็นร้อยละ 57.14 ได้รับการทำ PPCI ภายในเวลา 60 นาทีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 100 ไม่พบอัตราการคัดกรองผิดพลาดและอัตราอาการทรุดระหว่างการเคลื่อนย้ายไปยังแผนกอื่น

สรุป : รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการห้องฉุกเฉินเป็นการพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยและองค์กร

References

World Health Organization. Cardiovascular diseases (CVDs). 2019. [Cited 2020, January 26]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds).

กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service plan. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2561.

European Society of Cardiology. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. Eur Heart J 2018;39:119–77.

European Society of Cardiology. 2023 ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes. Eur Heart J 2023:1–107.

Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2023.

National Health and Medical Research Council. A guide to the development,

implementation and evaluation of clinical practice guidelines; 1998.

The Joanna Briggs Institute. Reviewers’ Manual 2014 Edition. Retrieved January 27, 2023 from http: www.joannabriggs.org/assets/ docs/sumari/reviewersmanual-2014.pdf

Polit DF, & Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice (10th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer; 2017.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดียจำกัด; 2553.

วรรณิภา เสนุภัย, พนิดา เตชะโต, สิริพร ดำน้อย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2562;11:104-16.

เยาวเรศ บุญทองใหม่, เพ็ญศรี จาบประไพ, สายรุ้ง องอาจทวีชัย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระพุทธบาท. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2565;36:50-64.

บุหลัน เปลี่ยนไธสง, รัชนี ผิวผ่อง, ธัญสุดา ปลงรัมย์, วิไลวรรณ เงาศรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36:63-76.

นฤเบศร์ โกศล, ภัทรลัญญาภรณ์ ยุวพงศ์พิพัฒน์, นิภาพร จันทราทิพย์, ปิยธิดา บวรสุธาศิน. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาลศาสตร์; 2564: 1-19.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล(ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

ฉัตรพร หัตถกรรม, วนิดา เคนทองดี, พรวินัส โสกัณฑัต. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่น เอสทีไม่ยกสูง โรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564;39:87-96.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563. สมุทรปราการ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนคสเตป ดีไซน์; 2563.

มรรยาท ขาวโต, สุรเชฎฐ์ กุคำใส. พัฒนา แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด ST Segment ยกขึ้นในระยะวิกฤต งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2564;4:93-110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27