อุบัติการณ์ของโรคทางจิตเวช และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ระหว่างช่วงที่มีสถานการณ์โควิด-19 และไม่มีสถานการณ์โควิด -19 ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ธงไท เธียรสุคนธ์ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์โรคทางจิตเวช, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, ช่วงโควิด-19

บทคัดย่อ

บทนำ : ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่าอุบัติการณ์ประชากรที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อ จึงได้ทำการศึกษาโดยมี

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วงที่มีและไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และ 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวชของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วงที่มีและไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยเก็บข้อมูลอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคจิตเวชใน 4 กลุ่มโรคทางจิตเวช คือ โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคการใช้สารเสพติด (Substance use disorders) โรคจิต (Psychotic disorders) เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วงระยะเวลาที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (ปีพ.ศ. 2563 – 2564) เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคจิตเวชในช่วงไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (ปีพ.ศ. 2561-  2562) จำนวน 2,877 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวน       เวชระเบียนของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ   Chi-square test เปรียบเทียบข้อมูลที่ค่า p-value <0.05

ผลการศึกษา อุบัติการณ์โรคทางจิตเวชโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ระหว่างช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 และไม่มีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ < 0.001 โดยช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวนผู้ป่วยโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) และการใช้สารเสพติด (Substance use disorders) เพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวชของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ ด้านสถานภาพสมรส ด้านที่อยู่อาศัย และ อาชีพอิสระ

สรุป กลุ่มโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) และโรคการใช้สารเสพติด (Substance use disorders) เป็นกลุ่มโรคที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด -19 รวมไปถึงปัจจัยเกี่ยวข้องที่ส่งเสริมให้ตัวโรคเป็นมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สถานภาพสมรส อาชีพอิสระ ผู้ป่วยที่อาศัยในเขตเมือง อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาที่ใหญ่และมีปริมาณผู้ป่วยมากขึ้นสำหรับงานวิจัยในอนาคตเพื่อความแม่นยำที่มากขึ้น

References

Chekole YA, Abate SM. Global prevalence and determinants of mental health disorders during the COVID-19 pandemic: A systematic review and meta-analysis. Ann Med Surg 2021;68:102634.

Ornell F, Schuch JB, Sordi AO, Kessler FHP. "Pandemic fear" and COVID-19: mental health burden and strategies. Braz J Psychiatry 2020;42(3):232-5.

Zhang Z, Feng Y, Song R, Yang D, Duan X. Prevalence of psychiatric diagnosis and related psychopathological symptoms among patients with COVID-19 during the second wave of the pandemic. Global Health 2021;17(1):44.

Dodge KA, Skinner AT, Godwin J, Bai Y, Lansford JE, Copeland WE, et al. Impact of the COVID-19 pandemic on substance use among adults without children, parents, and adolescents. Addict Behav Rep 2021;14:100388.

Hossain MM, Tasnim S, Sultana A, Faizah F, Mazumder H, Zou L, et al. Epidemiology of mental health problems in COVID-19: a review. F1000Res 2020;9:636.

Na Jiang SY-L, Kanit Pamanee, and Joko Sriyanto. Depression, Anxiety, and Stress During the COVID-19 Pandemic: Comparison Among Higher Education Students in Four Countries in the Asia-Pacific Region. journal of Population and Social Studies (JPSS). 2021.

Gonzalez-Sanguino C, Ausin B, Castellanos MA, Saiz J, Lopez-Gomez A, Ugidos C, et al. Mental health consequences during the initial stage of the 2020 Coronavirus pandemic (COVID-19) in Spain. Brain Behav Immun 2020;87:172-6.

Chinvararak C, Kerdcharoen N, Pruttithavorn W, Polruamngern N, Asawaroekwisoot T, Munsukpol W, et al. Mental health among healthcare workers during COVID-19 pandemic in Thailand. PLoS One 2022;17(5):e0268704.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27