ผลของโปรแกรมการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานต่อความรู้ และทักษะการจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ศุภสิตางค์ ศิริพัฒน์ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โปรแกรมการอบรม, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงาน, บุคลากร

บทคัดย่อ

บทนำ : การเดินสำรวจสิ่งคุกคามจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง ปีงบประมาณ 2565 พบว่า สิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากรที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรมากเป็นอันดับแรก คือด้านแสงสว่าง อันดับสองคือ ด้านการยศาสตร์ และอันดับสามคือ ด้านเสียง ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและสิ่งคุกคามสุขภาพของบุคลากร โดยที่ผ่านมาโรงพยาบาลทุ่งสงยังไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงาน จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาโปรแกรมการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานเพื่อให้ได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ สามารถประเมินความเสี่ยงของสิ่งคุกคามทางสุขภาพในหน่วยงานได้เบื้องต้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานต่อความรู้และทักษะการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพของบุคคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง ทุกคนที่เข้าอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมได้ครบทุกขั้นตอน จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการระบุสิ่งคุกคามสุขภาพและการป้องกัน และแบบสอบถามการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ ซึ่งตรวจสอบโดยผู้ทรงวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1  ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ (Reliability) เท่ากับ 0.76  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอนุมาน ได้แก่ Dependent or Paired samples t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา : การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคลากรโรงพยาบาลทุ่งสง  กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการระบุสิ่งคุกคามสุขภาพและการป้องกันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และทักษะการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

สรุป : สามารถนำโปรแกรมนี้มาปรับใช้ในการอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำหน่วยงานของบุคคลากรในโรงพยาบาลได้ เนื่องจากทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการระบุสิ่งคุกคามสุขภาพและการป้องกัน และมีทักษะการประเมินและการจัดการความเสี่ยงของสิ่งคุกคามต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น

References

วันเพ็ญ ทรงคำ. การพยาบาลอาชีวอนามัย: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. เชียงใหม่; ร้านเอ็น.พี.ที.ปริ้นติ้ง; 2563.

International Labour Oranization. Global trends on occupation accidents and diseases. [Internet]. 2015 (cited 2022 May 15) Available from: https://www.ilo.org/legacy/english /osh /en /stury_content/external_files/fs_st_1-ILO_5_en.pdf

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. รายงานประจำปี 2561 กองทุนเงินทดแทน [อินเตอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_ storge/_th/2452435690cf2f41edaf34e43814e4b7.pdf

โรงพยาบาลทุ่งสง กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม. รายงานผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงและสิ่งคุกคามทาง โรงพยาบาลทุ่งสง ปี 2565. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาล; 2565.

โรงพยาบาลทุ่งสง กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม. รายงานเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS) โรงพยาบาลทุ่งสง ปี 2565 .นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาล; 2565.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2554). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2554.

กัลยาณี ตันตรานนท์, วันเพ็ญ ทรงคำ, วีระพร ศุทธากรณ์, วิจิตร ศรีสุพรรณ, โภคิน ศักรินทร์กุล,จักรภพ ธาตุสุวรรณ. การพัฒนาแบบวัดความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในคนงานโรงงานอุตสาหกรรม.พยาบาลทหารบก 2562;20:247-55.

ธนตกวิน พันธุลี. ประสิทธิผลของการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลบุรีรัมย์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2565;37:193-207.

วีรินทร์ พรหมวงศ์, ยุพิน อิทะยะ, ศิริพร ขีปนวัฒนา. การใช้หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพอาชีว อนามัยในชุมชนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ 2557;4:53-64.

นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดี รอดจากภัย, สุนิศา แสงจันทร์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันตนเองเพื่อลดการรับสัมผัสมลพิษของแรงงานในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง.[วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

ยุภา ศรีสิงค์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ผลของการสร้างความตระหนักผ่านการ อบรมความปลอดภัยต่อการใช้การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงของคนงานผลิตเครื่องเรือนไม้. พยาบาลสาร 2560;44: 90-101.

อนุดา ถิรัฏฐานกุล, วริศรา เบ้านู. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ ต่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานของพนักงานในสถานประกอบการแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. อนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2564;6:38-44.

ทฤษฎีการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565].เข้าถึงได้จาก https://eledu.ssru.ac.th/wipada_prl/pluginfile.php/34/course/section/pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27