ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สาโรจน์ ธีระกุล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พิษสุนัขบ้า, นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

บทนำ : ประเทศไทยมีนโยบายการเร่งรัดให้กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าหมดไปตามเป้าหมายของโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2548-2565 พบผู้เสียชีวิต 8 ราย การสอบสวนพบว่ารับเชื้อจากสุนัข ไม่ได้รับวัคซีนหลังถูกสุนัขกัด และไม่ได้ล้างแผล สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน

วัตถุประสงค์ : เพื่อสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคและพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ในอำเภอที่พบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน 2566 จำนวน 344 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลแจกแจงความถี่ ร้อยละ และทดสอบความสัมพันธ์โดยสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient)

ผลการศึกษา : ความรอบรู้ในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากับพฤติกรรมในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่กลุ่มปานกลาง และมีความสัมพันธ์ย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป : ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ คนที่มีความรู้รอบด้านสุขภาพที่ต่างกันจะมีพฤติกรรมสุขภาพที่ต่างกัน

References

สรุปสถานการณ์การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566], เข้าถึงได้จากhttp://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?Dcontent

=old&ds=42; 2565.

ข้อมูลสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์.สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566], แหล่งข้อมูล http://www.thailrabies.net; 2565.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทยประจำปี 2563 : นนทบุรี; 2563.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2561.กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด แคนนา กราฟฟิค.; 2561.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ: การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ความฉลาดทางสุขภาพ.กรุงเทพ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556

อารีย์ แร่ทอง . ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2562; 15(3) : 62-70.

มลินี สมภพเจริญ. การสื่อสารสุขภาพเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health communication for health literacy). พิมพ์ครั้งที่ 3 : โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2565.

พรศรี สิงคะปะ และคณะ. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3 อ.2 ส.ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคอีสาน 2564; 36(1): 23.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into 21st century. Health Promotion International 2000, 15(3), 259-67.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี.ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. 2558. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25(3), 43-53.

ภมร ดรุณ และประกันชัย ไกรรัตน. ที่ศึกษาปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2562; 15(3) : 71-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27