ความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนท่าสาป จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สาธิมาน มากชูชิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กมลวรรณ สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บูคอรี มะมิง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยูนัยดะ กะดะแซ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป

คำสำคัญ:

การสนับสนุนการจัดการตนเอง, ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

บทนำ : การได้รับการสนับสนุนในการจัดการตนเองที่ครอบคลุมในทุกด้านทั้งด้านอาหาร ออกกำลังกาย การได้รับยา และการจัดการความเครียดตามความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล นำไปสู่การทำความเข้าใจ และการได้รับการสนับสนุนพร้อมทั้งการตอบสนองความต้องการอย่างชัดเจนและทั่วถึง สามารถช่วยส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง และการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริง และเปรียบเทียบความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง กับการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริงเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนท่าสาป จังหวัดยะลา

วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในชุมชนท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานและมาร่วมกิจกรรมบริการวิชาการกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบสอบถามความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง และแบบสอบถามการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริง โดยใช้สถิติ Paired sample t-test

ผลการศึกษา : พบว่า ความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเองโดยรวม อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.32 (SD= .48) การได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริงโดยรวม อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.96 (SD= .40) เปรียบเทียบพบว่าความต้องการด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง มากกว่าการได้รับการสนับสนุนตามความเป็นจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 6.56)

สรุป : ความต้องการการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนท่าสาป จังหวัดยะลา คือความต้องการด้านการได้รับยา ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกายและด้านการจัดการกับความเครียด ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรมีการสนับสนุนระบบการดำเนินงานให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการออกกำลังกาย ที่ผู้ป่วยยังได้รับการสนับสนุนในระดับน้อยโดยการออกแบบการสนับสนุนให้สอดคล้องตามบริบทของพื้นที่ และตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในชุมชนท่าสาปต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/.

ศุภาณ์นาฎ สุวรรณกิจ, อัศนี วันชัย, ชนกานต์ แสงคำกุล, และอภิเชษฐ์ พูลทรัพย์. พฤติกรรมการจัดการของผู้ที่เป็นเบาวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยในเขตเมือง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2564;13(1):225-37.

Chawla A, Chawla R, Jaggi S. Microvascular and macrovascular complication in diabetes mellitus: Distinct or continuum. Indian Journal of Endocrinology and Metabolism 2016;20(4):546-51.

กรมควบคุมโรคและคัดกรองเบาหวาน ความดัน. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2663296.

อรญา เย็นเสมอ, กันตพร ยอดไชย, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณและการได้รับการตอบสนองความต้องการดูแลด้านจิตวิญญาณ ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560;40(2):55-64.

Highfied MF. Spiritual health of oncology patient. nurse and patient perspective. Cancer Nurse 1992;15(1):1-8.

ราตรี ทองคำ. ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดลพบุรี.วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2565;30(3):86-99.

จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์, ทศพร คำผลศิริ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร 2563;47(2):251-61.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดยะลา. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ylo.moph.go.th/ chronic/index.php.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยู-แอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2550.

Best, John W. Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Publishers; 1970.

สมพร กิจสุวรรณรัตน์, ถาวร ล่อกา, ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดลำปาง ปี 2561: วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563;7(1):199-214.

รัชมนภรณ์ เจริญ, น้ำอ้อย ภักดี, อำภาพร นามวงศ์พรหม. ที่ศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553;16(2):279-92.

เสาวนีย์ วรรละออ, พรทิพย์ มาลาธรรม, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553;18(3):372-88.

ชนิกานต์ งบประเสริฐสุข, นิตยา เชื้อผู้ดี, วรัญญา สถานสุข, ชลดา หิรัญพัฒนกุล. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุภาพตำบลบางตลาด. วารสารเกื้อการุณย์ 2565;29(1):103-17.

วราภรณ ภู่ดี. สถานการณ์ความเครียดในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน: กรณีศึกษาอําเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563;1(2):10-16.

อุษณีพร วิรุฬห์วาณิช. ความต้องการของผู้ป่วยเบาหวานต่อการเยี่ยมบ้านของสหวิชาชีพ กรณีศึกษาหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลนายแพทย์หาญ จังหวัดยโสธร [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2551.

การียา ยือแร, สาวิตรี ลิ้มชัยอรุนเรือง, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. การส่งเสริมการออกกำลังกายตามหลักศาสนาอิสลามในกลุ่มแม่บ้าน จังหวัดปัตตานี. วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย 2553;5(9):83-96.

มนัญญา ภิรมย์. ความสัมพันธ์ของความเครียดและภาวะซึมเศร้าต่อการควบคุมระดับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565;19(3):125-36.

อายุพร กัยวิกัยโกศล, อัศนี วันชัย, อัญชลี แก้วสระศรี, อนัญญา คูอาริยะกุล. การจัดการความเครียด ของผู้ป่วยเบาหวานไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราช อุตรดิตถ์2561;10(2):1-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27