ผลของการใช้นวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็ม ต่อระดับความรู้ ระดับความเค็มในอาหาร และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • กฤติยา พิพัฒน์ผล

คำสำคัญ:

นวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็ม, ความเค็มในอาหาร, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็มต่อระดับความรู้ ระดับความเค็มในอาหาร และระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต. บ้านไม้หลา จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย นวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็ม ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดี่ยมในประเทศไทย นำไปทดลองใช้กับครัวเรือนของกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามประเมินความรู้การบริโภคอาหารเค็ม และพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียม รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566 ถึงเดือน กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความความรู้เฉลี่ยก่อน-หลังการใช้นวัตกรรม ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks test วิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความเค็มเฉลี่ยในอาหารที่บริโภค และระดับความดันโลหิต ก่อน-หลังใช้นวัตกรรมทันที และหลังใช้นวัตกรรม 1 เดือน ด้วยสถิติ The Friedman Test

ผลการศึกษา : หลังใช้นวัตกรรมระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้การบริโภคอาหารเค็มของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนใช้    นวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยระดับความเค็มในอาหารที่บริโภค หลังใช้นวัตกรรมทันที และหลังใช้ 1 เดือนต่ำกว่าก่อนใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตหลังใช้    นวัตกรรมทันที และหลังใช้ 1 เดือนต่ำกว่าก่อนใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป : นวัตกรรมวงล้อพิชิตเค็มที่จัดทำขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไปได้ เนื่องจากทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเค็ม มีการรับประทานอาหารเค็มในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนช่วยลดระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้

References

กองควบคุมโรค. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs) สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต], 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/NCDUNIATF61.pdf.

World Health Organization. A global brief on hypertension silent killer, Global public health crisis [Internet], 2022 [cited 2023 Jun 4]. Available from:WHO_DCO_WHD_2013.2_eng.pdf

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุขสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถิติโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2564.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สถิติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม้หลา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. สถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง[ระบบฐานข้อมูลกลาง]; 2565

Li SX, Zhan g L. Health behavior of hypertensive elderly patients and influencing factors. Aging Clin Exp Res 2013;25:275-81.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติ พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562

Health system Development Group non-communicable disease office Department of Disease Control. Pressure Day campaign issue World high blood pressure, year 2018 [Internet]. 2018 [cited 2023 jun 5]. Available from: http://www.thaincd.com/document /file/info/non-communicable-disease

พรทิพย์ นิ่มขุนทด. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็ม กับโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2560.

รักชนก จันทร์เพ็ญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต 2564;1:20-3.

ณัฏฐินี เสือโต, แอนน์จิระ พงษ์สุวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และมธุรส ทิพยมงคลกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต ในกลุ่มอายุ 35-59 ปีที่ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2561;32:95-116.

สรรเพชร รัตนภักดิ์ดีกุล. การพัฒนารูปแบบเพื่อลดการบริโภคเค็มในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ [อินเตอร์เน็ต]. มปป [เข้าถึงเมื่อ 10 Jun 10]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/r2r/MA2566-004-02-0000001258-0000001306.pdf

Gleason-Comstock, J. Patient education and follow-up an intervention for hypertensive patients discharged from an emergency department: a randomized control trial study protocol. BMC Emergency Medicine 2014; 15-38.

วริศรา ปั่นทองหลาง, ปานจิต นามพลกรัง, วินัฐ ดวงแสนจันทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารสงขลานครินทร์ 2561;38:4:152-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27