ผลของโปรแกรมการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมสุขภาพและ ภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ของสถานประกอบการแห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พัทธ์ธิดา จินตนปัญญา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โปรแกรมควบคุมและป้องกัน, ภาวะโลหิตจาง, หญิงวัยเจริญพันธุ์

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมีผลต่อทั้งสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน  แต่ยังขาดความครอบคลุมของนโยบายในการดูแลกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสถานประกอบการ  โดยสถานประกอบการแห่งนี้พบความชุกของภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 20-45 ปี) อยู่ที่ร้อยละ 23 ซึ่งใกล้เคียงกับความชุกในระดับโลก

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะโลหิตจางของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในสถานประกอบการแห่งหนึ่งในอำเภอทุ่งสง

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง  กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 20-45 ปี) จำนวน 61 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ศึกษาเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ (25 เมษายน – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างขึ้นจากทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคม เจาะเลือดเพื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มปกติ(ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจาง(ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กทุกวัน)  ทั้งสองกลุ่มได้รับเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ อบรมเพื่อปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ได้รับยาโฟลิก สัปดาห์ละ 1 ครั้งและได้รับยาถ่ายพยาธิ 1 ครั้ง จากนั้นติดตามผลที่ 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ทัศนคติ และแบบประเมินตนเองในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1  ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ(Reliability) เท่ากับ 0.787, 0.821 และ 0.761 ตามลำดับ ประเมินภาวะโลหิตจางด้วยค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังทดลองด้วย Paired t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของความชุกภาวะโลหิตจางก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Mc Nemar test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา : หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมสุขภาพ ค่าฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนความชุกของภาวะโลหิตจางหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนทดลองร้อยละ 16.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป : สามารถนำโปรแกรมนี้มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก เพื่อลดภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้

References

World Health Organization. Anaemia in women and children.; 24 February 2023 [internet].[cited 2023 February 24]. Available from: https://www.who.int/data/gho/ data/themes/topics/anaemia_in_women_and_children

วิชัย เอกพลากร,(บก.). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2562-2563.พิมพ์ครั้งที่ 1.อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564 :225-29

คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 – 49 ปี ที่ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และพบภาวะโลหิตจาง. 24 กุมภาพันธ์ 2566[อินเตอร์เน็ท]. [เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานโครงการสาวไทยแก้มแดง. พิมพ์ครั้งที่ 1 .อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ ;2561 :3-33.

Rosenstock IM. The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs 1974 ;2 :354-86.

House JS. Social support and social structure. Soc Forum 1987; 2(1):135-46.

ศุภิสรา วรโคตร, ปราณี ธีรโสภณ, ผ่องศรี เถิงนำมา. ผลของการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อกระตุ้นเตือนต่อภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2556; 6: 56-63.

รัติยากร เจริญท้าว .รูปแบบการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางแบบมีส่วนร่วม รายบุคคลของผู้รับบริการวัยทำงานที่มารับบริการ ณ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี .ศูนย์อนามัยที่ 10 กรมอนามัย[อินเตอร์เน็ท]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc10old. anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5639.

ริษา ดีจุฑามณี, อัจฉรา มูลรัตนา, จิราภรณ์ อรุณากูร, วีรวรรณ โพธิ์แย้ม, สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์.ประสิทธิผลของการให้ยาเสริมธาตุเหล็กทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วชิรสารการพยาบาล. 2561; 20: 13-21.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกัน การติดเชื้อ เอช ไอ วี / เอดส์ ของคนประจำเรือไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 2556; 8: 84-102.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวานิสย์; 2563 :15-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27