การประเมินผลโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ เขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • ทณาศักดิ์ ปั้นทรัพย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 5
  • กมลวรรณ สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

อัมพาต, รูปแบบซิปป์

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) มีแนวโน้มอุบัติการณ์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลจากการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนบทบาทของตนเองเป็นผู้พึ่งพิง ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ เป็นภาระต่อครอบครัวก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา เขตสุขภาพที่ 5 มีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) อยู่ในอันดับ 3 จาก 13 เขตสุขภาพ จึงได้จัดโครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาตขึ้น และประเมินผลโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการปรับปรุงการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์: ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย โครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ  เขตสุขภาพที่ 5

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล (evaluation research design) ศึกษาใน 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในบริบทของคณะกรรมการอำนวยการ ภายในกระทรวงสาธารณสุขและผู้รับผิดชอบงานโรคหลอดเลือดสมองในทุกจังหวัด ของเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน  155 คน และ 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในบริบทของคณะกรรมการอำนวยการ ภายนอกกระทรวงสาธารณสุขในทุกจังหวัด ของเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 154 คน รวมทั้งสิ้น 309 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย

ผลการศึกษา: ประเมินผลโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต อยู่ในระดับสูง

สรุป:  โครงการแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ  เขตสุขภาพที่ 5  เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพ และเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติภายใต้โครงการแสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต เฉลิมพระเกียรติ เขตสุขภาพที่ 5

References

นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สมศักดิ์ เทียมเท่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย2565;39(2):39-46.

Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation theory, models,and applications. 1" Ed. San Francisco: Jossey-Bass;2007.

Best JW, Kahn JV. Research in education. 10th ed. New York: Pearson Education; 2006.

พรพิมล ปลั่งศรีสกุล, ปิยากร หวังมหาพร, สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, และสุรชัย ศิริไกร. การนำนโยบายด้านแรงงานไปปฏิบัติในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย. วารสารการบริหารปกครอง 2560;6(2):283-304.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการกำหนดและการ วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: โครงการรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

พรรณสุภา โพธิ์ย้อย, ณัฐกริช เปาอินทร์. การนำนโยบายสภาวัฒนธรรมไปปฏิบัติ กรณีศึกษาสภาวัฒนธรรมตำบล จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการเมืองการปกครอง 2561;8(3): 132- 51.

อรอุมา มะกรูดทอง, จนตนา ดำเกลี้ยง, มยุรี เมฆทัศน์, ทิพย์สุดา พรหมดนตรี. ประเมินผลโครงการพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินแรกรับและการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน. วารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2566;7(1): 114-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27