ศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องตรวจโลหิตอัตโนมัติ ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ Infectious Marker (HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab) ของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ตรวจคุณภาพโลหิต, เครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติบทคัดย่อ
บทนำ : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติกำหนดนโยบายระดับชาติ ถึงมาตรฐานในการตรวจคัดกรองเลือดที่ได้รับบริจาค ด้วยวิธีทางซีโรโลยี (Serology) ที่มีความไว และความจำเพาะสูง และลดความเสี่ยงที่เหลืออยู่ของโรคติดเชื้อในเลือดโดยการตรวจด้วยวิธีชีววิทยาระดับโมเลกุล (NAT)
วัตถุประสงค์ : ประเมินหาความสัมพันธ์และความสอดคล้องของเครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ ทั้ง 3 ชนิด ในการตรวจวิเคราะห์ HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab ตัวอย่างรายเดียวกัน จะต้องได้ผลการตรวจที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน
วัสดุและวิธีการศึกษา : นำตัวอย่างที่ตรวจ HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab ที่ให้ผล Reactive อย่างละ 10 ตัวอย่าง และให้ผล Negative 10 ตัวอย่าง รวมทั้งหมด 50 ตัวอย่าง มาตรวจด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติทั้ง 3 เครื่อง นำผลมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) และ Cohen Kappa
ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่าค่า r ในการเปรียบเทียบเครื่องตรวจวิเคราะห์เครื่องที่ 1 และ 2 ,เครื่องที่ 1และ 3, เครื่องที่ 2 และ 3 ในการตรวจ HBsAg เท่ากับ 0.99955, 0.99980 และ 0.99960 การตรวจ Anti-HCV เท่ากับ 0.99785, 0.99905 และ 0.99925 การตรวจ HIV Ag/Ab เท่ากับ 0.99975, 0.99985 และ 0.99970 การตรวจ Syphilis Ab เท่ากับ 0.99995, 0.99930, 0.99940 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลมาคำนวณหาค่า K โดยใช้สถิติ Kappa พบว่าค่า K การตรวจทุกการทดสอบทั้ง 3 เครื่อง มีความสอดคล้องกันเท่ากับ 1
สรุป : เครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติทั้ง 3 เครื่อง สามารถวิเคราะห์ค่าการตรวจ HBsAg, Anti-HCV, HIV Ag/Ab และ Syphilis Ab ให้ผลการตรวจที่มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 3 เครื่อง
คำสำคัญ : ตรวจคุณภาพโลหิต เครื่องตรวจวิเคราะห์โลหิตอัตโนมัติ
References
สายทอง วงศ์คำ. อัตราการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และเชื้อซิฟิลิส ในเลือดบริจาคของโรงพยาบาลหัวหิน. เชียงรายเวชสาร 2560; 9: 105-13.
วิจิตร์ โทนศิริ. ความชุกการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และเชื้อซิฟิลิสในโลหิตของผู้บริจาค งานธนาคารเลือดโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2565; 39: 72-9.
ศรีวิไล ตระกูลเกษมสิริ, เจริญศักดิ์ ทัพโยธา. ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ชนิดซี เอชไอวี และซิฟิลิส ในผู้บริจาคโลหิตครั้งแรกของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากากาดไทย ระหว่างปี พ.ศ.2550-2554. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2555; 45: 14-1.
ศุภรดา อิงคนัน, ผกาวรรณ ชนะชัยสุวรรณ. ความชุกของการติดเชื้อในผู้บริจาคโลหิตของโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2558; 25: 107-14.
พิชชาภัทร์ นิ่มนุช, ณิชาภา เจียมจรรยา, กัมพล อินทรนุช, อ้อยทิพย์ ณ ถลาง. ความชุกของการติดเชื้อที่สามารถติดต่อทางการให้เลือดของเลือดบริจาค ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติระหว่างปี พ.ศ.2560-2563. วารสารโลหิตและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2564; 31: 137-44
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น