แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลนครยะลา โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • สาธิมาน มากชูชิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กมลวรรณ สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อนุชิต คลังมั่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นภัทร โนวัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

บทนำ : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในระยะยาว

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อสำรวจระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลนครยะลา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลนครยะลา 3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน

วัสดุและวิธีการศึกษา : การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนบ้านและพักอาศัยอยู่ในชุมชนเทศบาลนครยะลา จำนวน 92 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พร้อมทั้งสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลนครยะลา

ผลการศึกษา : พบว่า คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลนครยะลาโดยรวมร้อยละ 60.9 มีคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพชีวิตที่ดี คิดเป็นร้อยละ 64.1, 51.1 และ 62.0 ตามลำดับ ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายมีคุณภาพชีวิตกลางๆ คิดเป็นร้อยละ 58.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุประกอบด้วย อายุ อาชีพหลักในปัจจุบัน แหล่งที่มาของรายได้ และรายได้หลักต่อเดือน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป : จากสถานการณ์ของพื้นที่ที่กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม การมีงานทำหรือกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ให้มีกิจกรรมหลักด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนี้ 1) กิจกรรมด้านดูแลสุขภาวะ 2) กิจกรรมด้านสังคม 3) กิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพ โดยต้องเน้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ขับเคลื่อนโดยมีแนวทางที่เหมาะสม มีการกำหนดแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน

References

นัสมล บุตรวิเศษ, อุปริฏฐา อินทรสาด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [อินเทอร์เน็ต]. [พระนครศรีอยุธยา]: คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2563/research.rmutsb-2563-2021080910400 8337.pdf

ปราโมทย์ ประสาทกุล, จงจิตต์ ฤทธิรงค์, ศุทธิดา ชวนวัน, ณปภัช สัจนวกุล, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, กาญจนา เทียนลาย, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research/situation-of-the-thai-older-persons-2021/

บริการข้อมูลสถิติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาไทย, กรมการปกครอง. c2022 - [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.dopa.go.th/public_service/service1

ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/ th1512367202-108_0.pdf

กนิษฐา ลิ้มทรัพย์. การตระหนักรู้ในตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความพึงพอใจในชีวิตและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. [กรุงเทพฯ]: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://doi.nrct.go.th/ ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2014.87

วชากร นพนรินทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [อินเทอร์เน็ต] [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาลัยนเรศวร; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://nuir.lib.nu.ac.th/ dspace/bitstream/123456789/2559/3/61062007.pdf

พัชราภรณ์ พัฒนะ. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4. พุทธชินราชเวชสาร [อินเทอร์เน็ต] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2565].;36(1):21-33. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BMJ/article/view/218455

ข้อมูลสถิติการให้บริการ [อินเทอร์เน็ต]. ยะลา: เทศบาลนครยะลา, สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา c2022 - [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2565] เข้าถึงได้จาก: https://yalacity.go.th/news_ report/showList?cid=10

ประยูร อิมิวัตร์, นำขวัญ วงศ์ประทุม, กฤษณธ สมควร, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2565];7(2):364-378. เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/ article/download/153691/133902/569677

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด, โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่.

ปลื้มใจ ไพจิตร. (2558). คุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการ จัดการ, ปีที่ 2 (ฉบับที่ 2), 158-179.

จุฑามาศ วงจันทร์, สุวรรณา วุฒิรณฤทธิ์ และลัดดา เหลืองรัตนมาศ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 6. 12(1), 32-49.

ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล และสอาด มุ่งสิน. (2561). คุณภาพชีวิตภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตเมืองอุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 137-151.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2561). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดเลย. วารสารประชากรศาสตร์. 34(2), 56-75.

เนตรนภา กาบมณี, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ, ปานเพชร สกุลคู. การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2565];11(1):27-39. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/ view/247092

วิไลพร ขำวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, วรารัตน์ ประทานวรปัญญา, จิดาภา ศิริปัญญา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554; 5: 32-40.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. รูปแบบการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยชุมชน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2565];22-31. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/ bitstream/handle/11228/2713/p022-031.pdf?sequence=2&isAllowed=y

จินตนา อาจสันเหี๊ยะ, พรนภา คำพราว. รูปแบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2565];15(3):123-7. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30284

มิ่งขวัญ คงเจริญ และกัมปนาท บริบูรณ์. การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารการศึกษาศาสตร์. 2564;22(1):135-149.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30